"การนอน" ของลูกนั้น..สำคัญไฉน
เมื่อ พูดถึงการนอนของลูก เชื่อว่าพ่อแม่หลาย
ๆ ท่านคงมีคำถามเกี่ยวกับการนอนของลูกกันอยู่ไม่น้อย
เช่น เด็กควรนอนวันละกี่ชั่วโมง
ควรปลุกให้ดื่มนมตามเวลาหรือไม่ เด็กจะนอนได้ทั้งคืนโดยไม่ตื่นมากินนมตอนอายุเท่าไร
แล้วทำไมเด็กเล็ก ๆ บางคนตื่นบ่อยและโยเยตอนกลางคืน หรือไม่ยอมนอน ต้องอุ้มกล่อมหรือป้อนนมทุกครั้ง
คำถามเหล่านี้ ทีมงาน Life & Family มีคำแนะนำดี ๆ จาก พญ.ศุภรัตนา คุณานุสนธิ์ กุมาร แพทย์ โรงพยาบาลเวชธานีมาคลายข้อสงสัยกัน โดยปัญหาการนอนของเด็กตั้งแต่วัยขวบปีแรกจนถึงเด็กโตนั้น เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ๆ ประมาณ 1 ใน 5 ถึง 1 ใน 4 ของเด็กวัยก่อน 3 ปีแรกจะพบว่ามีอาการหลับยากและมักตื่นกลางดึกบ่อย ๆ เด็กวัย 3-5 ปี มักกลัวความมืด กลัวเสียงดัง กลัวการนอนคนเดียว ช่วงวัย 10 ปีแรกอาจพบว่ามีการฝันร้าย หรือตื่นกลัวตอนกลางคืน และพบบ่อยที่สุดในช่อง 5-7 ปี ซึ่งพบประมาณร้อยละ 1-4
สำหรับการนอนหลับจะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ REM (Rapid eye movement) และ NREM (Non-rapid eye movement) สำหรับระยะการนอนหลับช่วง REM Sleep การหลับจะเป็นแบบตื้น ๆ ร่วมกับการกรอกตาไปมาอย่างรวดเร็ว กล้ามเนื้อจะผ่อนคลาย ชีพจรและการหายใจอาจไม่สม่ำเสมอ ความฝันจะเกิดในช่วงนี้ ส่วน NREM Sleep ชีพจรและการหายใจจะช้าลง สม่ำเสมอ การเคลื่อนไหวลำตัวจะน้อยที่สุด เป็นช่วงที่อวัยวะต่าง ๆ ได้หยุดพักมากที่สุด REM Sleep ในเด็กแรกเกิดจะเกิดประมาณร้อยละ 50 ของการนอนและลดลงอายุ 5 ปีจะเท่ากับผู้ใหญ่คือ ร้อยละ 20-25 ของการนอนหลับทั้งหมด
คำถามเหล่านี้ ทีมงาน Life & Family มีคำแนะนำดี ๆ จาก พญ.ศุภรัตนา คุณานุสนธิ์ กุมาร แพทย์ โรงพยาบาลเวชธานีมาคลายข้อสงสัยกัน โดยปัญหาการนอนของเด็กตั้งแต่วัยขวบปีแรกจนถึงเด็กโตนั้น เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ๆ ประมาณ 1 ใน 5 ถึง 1 ใน 4 ของเด็กวัยก่อน 3 ปีแรกจะพบว่ามีอาการหลับยากและมักตื่นกลางดึกบ่อย ๆ เด็กวัย 3-5 ปี มักกลัวความมืด กลัวเสียงดัง กลัวการนอนคนเดียว ช่วงวัย 10 ปีแรกอาจพบว่ามีการฝันร้าย หรือตื่นกลัวตอนกลางคืน และพบบ่อยที่สุดในช่อง 5-7 ปี ซึ่งพบประมาณร้อยละ 1-4
สำหรับการนอนหลับจะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ REM (Rapid eye movement) และ NREM (Non-rapid eye movement) สำหรับระยะการนอนหลับช่วง REM Sleep การหลับจะเป็นแบบตื้น ๆ ร่วมกับการกรอกตาไปมาอย่างรวดเร็ว กล้ามเนื้อจะผ่อนคลาย ชีพจรและการหายใจอาจไม่สม่ำเสมอ ความฝันจะเกิดในช่วงนี้ ส่วน NREM Sleep ชีพจรและการหายใจจะช้าลง สม่ำเสมอ การเคลื่อนไหวลำตัวจะน้อยที่สุด เป็นช่วงที่อวัยวะต่าง ๆ ได้หยุดพักมากที่สุด REM Sleep ในเด็กแรกเกิดจะเกิดประมาณร้อยละ 50 ของการนอนและลดลงอายุ 5 ปีจะเท่ากับผู้ใหญ่คือ ร้อยละ 20-25 ของการนอนหลับทั้งหมด
ระยะเวลาการนอนหลับจะแตกต่างกันในแต่ละอายุ
ทารกแรกเกิดนอน 16-17 ชั่วโมงต่อวัน
เด็กอายุ 4-6 เดือน
สามารถนอนติดต่อกันได้ถึง 5 ชั่วโมง และเด็กควรจะหลับได้ด้วยตัวเอง อายุ
1 ปี เด็กจะนอนวันละประมาณ 14 ชั่วโมง อายุ 2 ปี
จะนอนวันละ 13 ชั่วโมง
และส่วนใหญ่มักไม่นอนตอนเช้า พออายุ 3-5 ปี
ส่วนใหญ่จะนอนตอนบ่าย 1 ครั้ง
และร้อยละ 75 ของเด็กอายุ
5 ปี ไม่ต้องการนอนกลางวัน
ปัญหาการนอนของเด็กที่พบบ่อย ๆ คือ หลับยาก มักต้องให้พ่อแม่ช่วยอุ้มกล่อม หรือติดดูดนมก่อนหลับ เด็กเหล่านี้ไม่ได้ถูกฝึกให้นอนได้ด้วยตัวเอง โดยธรรมชาติของเด็กเล็กต้องตื่นรู้สึกตัวเป็นพัก ๆ ขณะหลับอยู่แล้ว แต่พ่อแม่มักตอบสนองต่อเด็กมากเกินเหตุ ด้วยการเข้าไปอุ้ม กล่อม หรือให้ดูดนมทุกครั้งที่เด็กร้อง ทำให้เด็กติดและไม่สามารถหลับได้ด้วยตัวเอง
ทั้งนี้ พ่อแม่หลาย ๆ ท่านอาจมีคำถามตามมาว่า ควรจะให้เด็กนอนด้วย หรือให้เด็กนอนคนเดียวตามวัฒนธรรมตะวันตก ในเรื่องนี้คุณหมอให้คำแนะนำว่า แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละครอบครัว แต่มีการศึกษาหลายแหล่งที่แสดงให้เห็นว่า เด็กที่นอนร่วมกับผู้ใหญ่จะมีโอกาสตื่นกลางดึกมากกว่าเด็กที่ปล่อยให้นอนตาม ลำพังคนเดียวถึง 2-3 เท่า ยิ่งเด็กที่ดูดนมแม่และนอนกับแม่ยิ่งตื่นกลางดึกบ่อยมากกว่าเด็กที่นอนคน เดียว
ปัญหาการนอนของเด็กที่พบบ่อย ๆ คือ หลับยาก มักต้องให้พ่อแม่ช่วยอุ้มกล่อม หรือติดดูดนมก่อนหลับ เด็กเหล่านี้ไม่ได้ถูกฝึกให้นอนได้ด้วยตัวเอง โดยธรรมชาติของเด็กเล็กต้องตื่นรู้สึกตัวเป็นพัก ๆ ขณะหลับอยู่แล้ว แต่พ่อแม่มักตอบสนองต่อเด็กมากเกินเหตุ ด้วยการเข้าไปอุ้ม กล่อม หรือให้ดูดนมทุกครั้งที่เด็กร้อง ทำให้เด็กติดและไม่สามารถหลับได้ด้วยตัวเอง
ทั้งนี้ พ่อแม่หลาย ๆ ท่านอาจมีคำถามตามมาว่า ควรจะให้เด็กนอนด้วย หรือให้เด็กนอนคนเดียวตามวัฒนธรรมตะวันตก ในเรื่องนี้คุณหมอให้คำแนะนำว่า แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละครอบครัว แต่มีการศึกษาหลายแหล่งที่แสดงให้เห็นว่า เด็กที่นอนร่วมกับผู้ใหญ่จะมีโอกาสตื่นกลางดึกมากกว่าเด็กที่ปล่อยให้นอนตาม ลำพังคนเดียวถึง 2-3 เท่า ยิ่งเด็กที่ดูดนมแม่และนอนกับแม่ยิ่งตื่นกลางดึกบ่อยมากกว่าเด็กที่นอนคน เดียว
สำหรับเด็กที่มี ปัญหาการนอนตั้งแต่ขวบปีแรก และไม่ได้รับการแก้ไขมักพบว่า ปัญหาจะดำเนินต่อไปเมื่อเด็กโตขึ้น ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ ต้องฝึกให้เด็กเล็กรู้จักนอนหลับได้ด้วยตัวเอง โดยจัดช่วงเวลาให้เด็กได้งีบ และนอนหลับตามตารางที่แน่นอนและสม่ำเสมอ ที่สำคัญควรให้เด็กนอนบนเตียงตั้งแต่เริ่มผ่อนคลาย หรือง่วง ไม่ใช่ช่วงที่เด็กหลับไปแล้ว เพื่อให้เด็กรู้จักปรับตัวและบังคับตัวเองให้หลับได้ตั้งแต่เล็ก ๆ โดยไม่ต้องดูดนม ไม่ต้องอุ้มเขย่า และไม่สนใจเสียงร้องที่อาจมีขึ้นก่อนเด็กหลับ เพื่อให้ความทรงจำสุดท้ายของเด็กก่อนที่จะหลับ คือการนอนได้ด้วยตัวเอง ถ้าเด็กตื่นและร้องหานม ควรใจแข็ง ประวิงเวลาให้นานที่สุดก่อนจะยอมให้เด็กดูดนมอีกครั้ง
อย่างไรก็ดี การเล่นกับเด็กมากเกินไปในช่วงเย็นหรือช่วงค่ำ อาจทำให้เด็กเล็ก ๆ วัย 8-9 เดือนขึ้นไปนอนยาก หรือตื่นมาร้องกวนตอนดึก การแก้ปัญหาเด็กนอนดึกคือ ค่อย ๆ ขยับเวลาตื่นให้เร็วขึ้น 15 นาที เพื่อให้เด็กรู้สึกง่วงเร็วขึ้น รวมถึงสามารถจัดตารางตื่น และเข้านอนได้ตามเวลาที่ต้องการ นอกจากนี้การอ่านนิทานหรือเล่าเรื่องเบา ๆ ก่อนนอนจะช่วยให้เด็กหลับได้เร็วขึ้น
ดังนั้น การนอนของลูกเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่จะมองข้ามไม่ได้อีกต่อไป เพราะการนอนหลับอย่างมีคุณภาพจะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ สมาธิ ความจำ และการตัดสินใจ มีผลต่อพัฒนาการทางอารมณ์ ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้สมบูรณ์ สังเกตได้จากโรคภูมิแพ้จะกำเริบมากขึ้นหากนอนน้อย นอกจากนี้ โกรทฮอร์โมน (Growth hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนช่วยเร่งความสูงของเด็ก ๆ จะหลั่งได้ดีในช่วงกลางดึกที่เด็กหลับสนิทระยะหนึ่ง (NREM Sleep stage 3 และ 4) หากเด็กนอนน้อยจะกระทบต่อการหลั่งโกรทฮอร์โมน และอาจมีผลต่อศักยภาพในด้านความสูงของเด็กได้
CR : Manager Online
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น