3 เทคนิคปั๊มนมแม่ให้เกลี้ยงเต้า ช่วยกระตุ้นนมแม่
ว่าที่คุณแม่และคุณแม่ลูกอ่อนหลายคนอาจจะกำลังกังวลว่า ในแต่ละวันที่ให้นมแม่ เราควรจะปั๊มนมแม่อย่างไรดีให้มีนมสต็อกเผื่อไว้เวลาแม่ไม่อยู่ ควรจะปั๊มอย่างไรดีให้นมเกลี้ยงเต้าเพื่อให้ลูกได้ดื่มน้ำนมแม่แบบเต็มอิ่ม และป้องกันอาการคัดเต้าเมื่อลูกยังไม่ตื่นขึ้นมาดูดนมเอง การปั๊มนมแม่ให้เกลี้ยงเต้าไม่ใช่เรื่องยากค่ะ เรามีเทคนิคง่ายๆ มาแนะนำ และแอบกระซิบบอกด้วยเลยว่า การปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้าจะยิ่งกระตุ้นกระบวนการสร้างนมแม่มากขึ้นด้วยนะคะ
3 เทคนิคปั๊มนมแม่ให้เกลี้ยงเต้า ช่วยกระตุ้นนมแม่
ปั๊มนมแม่เทคนิคที่1: คุณแม่ควรปั๊มนมแม่ทุกๆ 3-4 ชั่วโมง ไม่ควรปล่อยให้รู้สึกคัดเต้าหรือเจ็บเต้านม โดยควรมีกำหนดเวลาในการปั๊มนมที่แน่นอน การปั๊มนมตรงเวลาทุกๆ วันจะช่วยกระตุ้นการสร้างนมแม่ได้มากขึ้น และการปั๊มนมแม่ในแต่ละครั้งน้ำนมจะไหลดี ปั๊มนมแม่ได้เกลี้ยงเต้าค่ะ
และสำหรับคุณแม่หลังคลอดควรปั๊มนมแม่ภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด หรือรู้สึกไม่เจ็บแผลคลอดแล้ว ซึ่งจะช่วยกระตุ้นกระบวนการสร้างนมแม่ได้เป็นอย่างดีเช่นกัน
ปั๊มนมแม่เทคนิคที่ 2: คุณแม่ควรปั๊มนมแม่ให้หมดเป็นข้างๆ ไป โดยใช้เวลาในการปั๊มข้างละประมาณ 10-15 นาที ซึ่งเท่าๆ กับระยะเวลาที่ลูกดูดนมแม่จนเกลี้ยงเต้านั่นเองค่ะ หรือหากปั๊มถึง 15 นาทีแล้วยังมีน้ำนมไหลออกมาอยู่ ยังสามารถปั๊มต่อได้อีกประมาณ 5 นาที
แต่ไม่ควรนานเกินไปเพราะคุณแม่จะเจ็บเต้านมได้ค่ะ
ปั๊มนมแม่เทคนิคที่ 3: คุณแม่ต้องจำไว้เสมอว่าจำนวนครั้งหรือความถี่ในการปั๊มนมแม่ สำคัญกว่าระยะเวลาในการปั๊มนมแต่ละครั้ง เพราะยิ่งปั๊มบ่อยจะยิ่งกระตุ้นนมแม่ได้ดี แต่การปั๊มนมครั้งละนานๆ (เกิน 10-15 นาที) ไม่ได้ช่วยให้นมแม่ออกมาก เพราะนมแม่อาจจะเกลี้ยงเต้าแล้ว ซึ่งจะอาจเจ็บเต้านม เส้นเลือดฝอยหรือหัวนมแม่แตก ทำให้การปั๊มครั้งต่อไปน้ำนมกลายเป็นสีชมพู ตัวอย่างความถี่ในการปั๊มนมแม่ เช่น ในช่วงแรกหลังคลอดควรปั๊มวันละ 8-10 ครั้งต่อวัน แล้วจึงค่อยๆ ลดความถี่ลงเหลือวันละ 5-8 ครั้งได้เมื่อลูกเริ่มเข้าสู่วัยอาหารเสริมค่ะ
เคล็ดลับเลือกเครื่องปั๊มนมแม่ ตัวช่วยปั๊มนมแม่ให้เกลี้ยงเต้า
เครื่องปั๊มนมแม่มีทั้งแบบใช้มือปั๊มและแบบอัตโนมัติให้เลือกตามความชอบ แต่คุณแม่ส่วนใหญ่มักเลือกแบบมือปั๊ม เพราะสามารถควบคุมแรงและจังหวะในการบีบปั๊มนมแม่ได้เอง ไม่เจ็บเต้า
เครื่องปั๊มนมแม่ควรผลิตจากวัสดุปลอด BPA (Bisphenol A) ซึ่งจะปลอดสารพิษที่อันตรายต่อสุขภาพลูก
เครื่องปั๊มนมแม่ควรกระชับพอดีกับเต้านมแม่ และบริเวณส่วนครอบเต้าควรทำจากวัสดุที่อ่อนนุ่ม ป้องกันการกดทับเต้านมแม่ให้เจ็บ
อย่างวัสดุจากซิลิโคน เป็นต้น
เครื่องปั๊มนมแม่ควรมีขนาดพอดีมือคุณแม่เพื่อการจับ การกดปั๊มด้วยมือข้างเดียว
ขอบคุณที่มา : momypedia
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น