วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
Hot ! เเจก Coupon Code ฟรี 500 บาท สำหรับเก้าอี้พกพาทานอาหารนอกบ้านในบ้านจากBabymoov ฝรั่งเศส
|
พิมพ์ happymay2016-1 ในช่อง Coupon Code ลดทันที 500 บาท
Babymoov-เก้าอี้นั่งสำหรับเด็กแบบพกพา
Compact Booster Seat
The Very compact Booster Seat for baby!
เก้าอี้นั่งสำหรับเด็กแบบพกพา
เก้าอี้นั่งไว้สำหรับให้ลูกน้อยนั่งร่วมโต๊ะอาหารกับครอบครัว หรือ พกพาไว้สำหรับไปข้างนอก
มาพร้อมกับรูปทรงกะทัดรัด พกพาสะดวก
สามารถพับเก็บได้
เบาะนั่งทำจากวัสดุ EVA Foam ทำให้นั่งได้อย่างสบาย
ปรับระดับความสูงได้ 3 ระดับ ตามช่วงอายุการใช้งาน
มาพร้อมเข็มขัด 3 เส้น: สำหรับเด็กทารก (3 points harness), สำหรับคาดไปด้านหลัง,สำหรับคาดที่นั่ง
ปรับเพื่อใช้งานได้กับทุกเก้าอี้นั่ง ด้วยอุปกรณ์ที่สามารถถอดแยกเพื่อปรับใช้งานได้อย่างอิสระ
ถาดสามารถถอดออกได้
ใช้งานง่าย
meterial : PP + microfibre
Dimensions: 32 x 38 x 21 cm
Tips : เวลาไปนั่งทานข้าวตามร้านอาหาร เ้ก้าอี้ตัวนี้จะช่วยให้ลูกน้อยนั่งร่วมโต๊ะกับเราได้อย่างปลอดภัยค่ะ
Adjustable to any chair: the front and back feet are independently adjustable
Becomes a child armchair
3 heights adapted to baby's age
Foldable:17 cm once folded
Really comfortable booster seat: EVA foam
3 heights adapted to kids' age
3 harnesses: one for the baby (3 points harness), one for the back, one for the sea
Adjustable to any chair: the front and back feet are independantly adjustable
Removable table tray
Handle to carry it easily
Material : PP + microfibre
Dimensions38 x 36,5 x 39 cm (unfolded), 32 x 38 x 20 cm (folded) 36 x 21 x 3,5 cm (tray)
Use6 up to the age of 3 or for babies weighing up to 15kg
วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
ปล่อยให้ลูกร้องจนหลับไปเองตอนกลางคืนดีไหม?
ปล่อยให้ลูกร้องจนหลับไปเองตอนกลางคืนดีไหม?
พ่อแม่มักจะสับสน ทำอะไรไม่ถูกเวลาลูกร้อง ไม่รู้ว่าควรจะปล่อยให้ร้องจนเงียบไปเองหรือไปโอ๋ให้หยุด ลองมาดูซิว่าผู้เชี่ยวชาญเรื่องเด็กมีความเห็นและแนะนำพ่อแม่ป้ายแดงให้รับ มือกับความท้าทายนี้อย่างไร
เด็กอ่อนร้องเพื่อเรียกความสนใจจากพ่อแม่ให้ตอบสนองความต้องการของตัวเอง สิ่งที่ท้าทายและยากมากสำหรับพ่อแม่มือใหม่คือจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเราต้อง การอะไร
แยกแยะเสียงร้องให้ออก
สิ่งเดียวที่จะทำให้พ่อแม่รู้ได้ก็คือการสังเกต พ่อแม่ควรสังเกตเสียงร้องของลูกตั้งแต่ตอนเริ่มต้นที่พาเขากลับบ้าน ยิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้แยกแยะได้ใกล้เคียงและเร็วขึ้นเท่านั้น เสียงร้องของเด็กก็มีน้ำเสียงที่บอกให้รู้ว่ามีอารมณ์แบบไหน เช่น ร้องบอกว่าผ้าอ้อมแฉะหมดแล้ว รีบมาเปลี่ยนให้เดี๋ยวนี้ หรือเพราะหิว ลองสังเกตดูสักพัก คุณก็พอจะบอกได้ ถือว่าเป็นการเริ่มต้นการสื่อสารที่ดีระหว่างคุณกับลูกน้อย นอกจากจะทำให้คุณเหนื่อยน้อยลงแล้ว ถ้าคุณเดาความต้องการของลูกได้ถูกต้องจากการสังเกตของคุณเอง จะทำให้รู้สึกว่าคุณกับลูกคุยกันรู้เรื่อง คุณจะไม่รำคาญเมื่อได้ยินลูกร้อง เพราะมันเหมือนกับเขากำลังคุยหรือบอกอะไรคุณด้วยภาษาของเขาเองก่อนที่เขาจะ โตพอที่คุณจะสื่อสารด้วยคำพูดได้ พยายามสังเกตและแยกให้ออกว่าลูกกำลังบอกอะไรคุณ
ปล่อยให้ลูกร้องสักพัก
ยิ่งคุณสังเกตตั้งแต่ต้นเวลาลูกร้องว่าร้องเพราะอะไร นอกจากจะทำให้คุณเริ่มเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแยกแยะเสียงร้องของเด็กอ่อนแล้ว ยังทำให้คุณรู้ว่าถ้าร้องแบบนี้ ไม่ต้องรีบไปดู ปล่อยให้ร้องอีกหน่อยแล้วค่อยไปก็ได้ คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย ในขณะเดียวกันก็เป็นการฝึกวินัยเด็กอ่อนด้วยว่าบางครั้งต้องรอ จะได้ไม่เป็นเด็กที่เอาแต่ใจ ต้องการอะไรต้องได้ในทันที ถ้าเป็นแบบนี้ พ่อแม่รับมือไม่ไหวแน่ ๆ ปล่อยให้ลูกร้องสักพักเป็นการฝึกวินัยเด็กให้รู้จักการรอคอยตั้งแต่แบเบาะ บ้าง
ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ
คงไม่มีพ่อแม่คนไหนที่ปล่อยให้ลูกร้องจนเสียงแหบเสียงแห้งอย่างแน่ นอน ดังนั้นจะทำอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับพ่อแม่ทั้งสิ้น เพียงแต่อย่าลืมว่าพ่อแม่ที่สังเกตพฤติกรรมการร้องของลูกและแยกแยะให้ออก ตั้งแต่เริ่มต้นจะเป็นผลดีแก่ทุกฝ่าย ทั้งพ่อแม่และตัวเด็กเองที่เหมือนสื่อสารกันได้ดีในระดับหนึ่ง เสียงร้องของลูกที่คุณต้องรีบดูแลก็เช่น เปลี่ยนผ้าอ้อม หิว ร้อนไปหรือหนาวไป แต่ในบางครั้งถ้าไม่สำคัญนัก ก็ถือว่าเป็นการฝึกวินัยการรอและออกกำลังปอดของเด็กไปในตัวด้วย
CR : the asiaparent
พ่อแม่มักจะสับสน ทำอะไรไม่ถูกเวลาลูกร้อง ไม่รู้ว่าควรจะปล่อยให้ร้องจนเงียบไปเองหรือไปโอ๋ให้หยุด ลองมาดูซิว่าผู้เชี่ยวชาญเรื่องเด็กมีความเห็นและแนะนำพ่อแม่ป้ายแดงให้รับ มือกับความท้าทายนี้อย่างไร
เด็กอ่อนร้องเพื่อเรียกความสนใจจากพ่อแม่ให้ตอบสนองความต้องการของตัวเอง สิ่งที่ท้าทายและยากมากสำหรับพ่อแม่มือใหม่คือจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเราต้อง การอะไร
แยกแยะเสียงร้องให้ออก
สิ่งเดียวที่จะทำให้พ่อแม่รู้ได้ก็คือการสังเกต พ่อแม่ควรสังเกตเสียงร้องของลูกตั้งแต่ตอนเริ่มต้นที่พาเขากลับบ้าน ยิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้แยกแยะได้ใกล้เคียงและเร็วขึ้นเท่านั้น เสียงร้องของเด็กก็มีน้ำเสียงที่บอกให้รู้ว่ามีอารมณ์แบบไหน เช่น ร้องบอกว่าผ้าอ้อมแฉะหมดแล้ว รีบมาเปลี่ยนให้เดี๋ยวนี้ หรือเพราะหิว ลองสังเกตดูสักพัก คุณก็พอจะบอกได้ ถือว่าเป็นการเริ่มต้นการสื่อสารที่ดีระหว่างคุณกับลูกน้อย นอกจากจะทำให้คุณเหนื่อยน้อยลงแล้ว ถ้าคุณเดาความต้องการของลูกได้ถูกต้องจากการสังเกตของคุณเอง จะทำให้รู้สึกว่าคุณกับลูกคุยกันรู้เรื่อง คุณจะไม่รำคาญเมื่อได้ยินลูกร้อง เพราะมันเหมือนกับเขากำลังคุยหรือบอกอะไรคุณด้วยภาษาของเขาเองก่อนที่เขาจะ โตพอที่คุณจะสื่อสารด้วยคำพูดได้ พยายามสังเกตและแยกให้ออกว่าลูกกำลังบอกอะไรคุณ
ปล่อยให้ลูกร้องสักพัก
ยิ่งคุณสังเกตตั้งแต่ต้นเวลาลูกร้องว่าร้องเพราะอะไร นอกจากจะทำให้คุณเริ่มเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแยกแยะเสียงร้องของเด็กอ่อนแล้ว ยังทำให้คุณรู้ว่าถ้าร้องแบบนี้ ไม่ต้องรีบไปดู ปล่อยให้ร้องอีกหน่อยแล้วค่อยไปก็ได้ คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย ในขณะเดียวกันก็เป็นการฝึกวินัยเด็กอ่อนด้วยว่าบางครั้งต้องรอ จะได้ไม่เป็นเด็กที่เอาแต่ใจ ต้องการอะไรต้องได้ในทันที ถ้าเป็นแบบนี้ พ่อแม่รับมือไม่ไหวแน่ ๆ ปล่อยให้ลูกร้องสักพักเป็นการฝึกวินัยเด็กให้รู้จักการรอคอยตั้งแต่แบเบาะ บ้าง
ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ
คงไม่มีพ่อแม่คนไหนที่ปล่อยให้ลูกร้องจนเสียงแหบเสียงแห้งอย่างแน่ นอน ดังนั้นจะทำอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับพ่อแม่ทั้งสิ้น เพียงแต่อย่าลืมว่าพ่อแม่ที่สังเกตพฤติกรรมการร้องของลูกและแยกแยะให้ออก ตั้งแต่เริ่มต้นจะเป็นผลดีแก่ทุกฝ่าย ทั้งพ่อแม่และตัวเด็กเองที่เหมือนสื่อสารกันได้ดีในระดับหนึ่ง เสียงร้องของลูกที่คุณต้องรีบดูแลก็เช่น เปลี่ยนผ้าอ้อม หิว ร้อนไปหรือหนาวไป แต่ในบางครั้งถ้าไม่สำคัญนัก ก็ถือว่าเป็นการฝึกวินัยการรอและออกกำลังปอดของเด็กไปในตัวด้วย
CR : the asiaparent
คุยกับคุณหมอ: เมื่อลูกน้อยร้องไห้ไม่หยุด
คุยกับคุณหมอ: เมื่อลูกน้อยร้องไห้ไม่หยุด
เมื่อลูกน้อยในวัยทารกร้องไห้เป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้คุณพ่อและคุณแม่เริ่มกังวลว่าการร้องไห้จะมีผลมาจากปัญหาสุขภาพที่ ซ่อนอยู่หรือไม่ บางครั้งอาจถึงกับทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความเครียดจากการร้องไห้ที่หาสาเหตุ ไม่เจอเสียที
เด็กทารกแต่ละคนจะแตกต่างกันไป บางคนร้องไห้ง่าย และร้องไห้ครั้งละนาน ๆ บางคนอาจจะไม่ร้องไห้เลยก็เป็นได้ หากทารกอยู่ในวัยสามสัปดาห์ขึ้นไป และร้องไห้ติดต่อกันมากกว่าสามชั่วโมงต่อวัน นานมากกว่าสามวันในหนึ่งสัปดาห์ เป็นไปได้ว่าทารกอาจจะอยู่ในภาวะ โคลิค (colic) ซึ่ง ไม่เป็นอันตรายต่อทารก แต่มักจะตามมาด้วยปัญหาความเครียดของผู้ดูแล บ่อยครั้งที่นำไปสู่ภาวะอื่น ๆ ที่น่าเป็นห่วง เช่นปัญหาการซึมเศร้าของมารดา การละเลยไม่ดูแล หรือการหย่านมแม่ก่อนวัยอันควร
ทำไมลูกถึงร้องไห้?
การร้องไห้ของทารก เป็นการบ่งบอกว่าทารกมีความต้องการอะไรบางอย่างหรืออยู่ในภาวะที่ไม่สุขสบาย เช่น หิว ต้องการดื่มนม เจ็บปวด ไม่สบาย ทารกจะร้องไห้ครั้งละนาน ๆ ได้ ถึงแม้ผู้ดูแลจะพยายามหาสาเหตุที่เป็นไปได้แล้วก็ตาม เชื่อกันว่าสาเหตุที่ทำให้ทารกร้องไห้ครั้งละนาน ๆ นั้น น่าจะมาจากการระบบทางเดินอาหารที่กำลังพัฒนานำไปสู่การย่อยนมที่ยังไม่ สมบูรณ์และไม่สามารถกำจัดก๊าซที่เกิดจากการย่อยอาหารได้ การพัฒนาของระบบประสาทที่ยังไม่เต็มที่ ทารกจึงไม่สามารถที่จะออกคำสั่งให้หยุดร้องไห้ได้ง่าย ๆ การไม่ได้รับสัมผัสที่เพียงพอ และอีกหลายข้อสันนิษฐาน
ทำอย่างไรถึงจะหยุดร้องไห้?
เมื่อทารกร้องไห้ คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามหาสาเหตุที่เป็นไปได้ และแก้ไขภาวะที่อาจทำให้ลูกน้อยรู้สึกไม่สุขสบาย ได้แก่
– ตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ด้วยสัมผัสทางกายที่เหมาะสม
– คิดถึงสาเหตุเบื้องต้น เช่น หิว หนาว หรือร้อนเกินไป เสื้อผ้าหรือผ้าที่ห่อหุ้มแน่นเกินไป มีสิ่งกระตุ้นเช่นเสียงหรือแสงที่มากเกินไป
– เปลี่ยนวิธีการให้นม หรือเปลี่ยนสูตรนม
– ให้ทารกเรอเอาลมในกระเพาะออกหลังจากดูดนม โดยการอุ้มพาดบ่าด้วยความระมัดระวังหรือให้นั่งบนตักแล้วลูบหลังเบา ๆ อาจจะนวดท้องเบา ๆ วนตามเข็มนาฬิกา หากทารกดูดนมจากขวดนม ควรปรับท่าทางให้ทารกดูดนมได้สะดวกโดยไม่ดูดลมเข้าไป
– มีผู้แนะนำให้เปิดเครื่องดูดฝุ่น หรือไดร์เป่าผมให้ทารกได้ยิน เนื่องจากเป็นการเลียนแบบเสียงที่ทารกได้ยินขณะอยู่ในครรภ์ มีส่วนช่วยให้ผ่อนคลาย
ข้อควรระวัง เมื่อลูกร้องไห้
หากคุณพ่อคุณแม่ที่ดูแลลูกน้อยได้พยายามหาสาเหตุของการร้องไห้และ แก้ไข เท่าที่เป็นไปได้ จะพบว่าส่วนใหญ่ทารกจะหยุดร้องไห้ไปเองในเวลาไม่นาน แต่หากการร้องไห้ของทารกติดต่อกันไม่หยุดมาพร้อมกับอาการอื่น ๆ เช่น
– เสียงร้องไห้ฟังดูแปลก ๆ
– น้ำหนักไม่ขึ้น ทารกดูตัวเล็กกว่าที่ควรเป็น
– ท้องเสีย อาเจียน หรือท้องผูก หรือมีเลือดปนออกมาพร้อมกับการขับถ่าย
– ไม่ดูดนม หรือดูดน้อยมาก
– มีไข้ หรือมีผื่นขึ้นตามตัว
ควรพาทารกไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของความเจ็บป่วยทางกายครับ
และหากคุณพ่อคุณแม่เกิดความเครียดมากจากการดูแลลูกที่ร้องไห้บ่อย ๆ พาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจ และหาทางผ่อนคลายตนเองให้มากขึ้นจะเป็นทางออกที่ทำให้การเลี้ยงดูลูกราบรื่น ขึ้นครับ
CR : th.theasianparent.com
เมื่อลูกน้อยในวัยทารกร้องไห้เป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้คุณพ่อและคุณแม่เริ่มกังวลว่าการร้องไห้จะมีผลมาจากปัญหาสุขภาพที่ ซ่อนอยู่หรือไม่ บางครั้งอาจถึงกับทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความเครียดจากการร้องไห้ที่หาสาเหตุ ไม่เจอเสียที
เด็กทารกแต่ละคนจะแตกต่างกันไป บางคนร้องไห้ง่าย และร้องไห้ครั้งละนาน ๆ บางคนอาจจะไม่ร้องไห้เลยก็เป็นได้ หากทารกอยู่ในวัยสามสัปดาห์ขึ้นไป และร้องไห้ติดต่อกันมากกว่าสามชั่วโมงต่อวัน นานมากกว่าสามวันในหนึ่งสัปดาห์ เป็นไปได้ว่าทารกอาจจะอยู่ในภาวะ โคลิค (colic) ซึ่ง ไม่เป็นอันตรายต่อทารก แต่มักจะตามมาด้วยปัญหาความเครียดของผู้ดูแล บ่อยครั้งที่นำไปสู่ภาวะอื่น ๆ ที่น่าเป็นห่วง เช่นปัญหาการซึมเศร้าของมารดา การละเลยไม่ดูแล หรือการหย่านมแม่ก่อนวัยอันควร
ทำไมลูกถึงร้องไห้?
การร้องไห้ของทารก เป็นการบ่งบอกว่าทารกมีความต้องการอะไรบางอย่างหรืออยู่ในภาวะที่ไม่สุขสบาย เช่น หิว ต้องการดื่มนม เจ็บปวด ไม่สบาย ทารกจะร้องไห้ครั้งละนาน ๆ ได้ ถึงแม้ผู้ดูแลจะพยายามหาสาเหตุที่เป็นไปได้แล้วก็ตาม เชื่อกันว่าสาเหตุที่ทำให้ทารกร้องไห้ครั้งละนาน ๆ นั้น น่าจะมาจากการระบบทางเดินอาหารที่กำลังพัฒนานำไปสู่การย่อยนมที่ยังไม่ สมบูรณ์และไม่สามารถกำจัดก๊าซที่เกิดจากการย่อยอาหารได้ การพัฒนาของระบบประสาทที่ยังไม่เต็มที่ ทารกจึงไม่สามารถที่จะออกคำสั่งให้หยุดร้องไห้ได้ง่าย ๆ การไม่ได้รับสัมผัสที่เพียงพอ และอีกหลายข้อสันนิษฐาน
ทำอย่างไรถึงจะหยุดร้องไห้?
เมื่อทารกร้องไห้ คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามหาสาเหตุที่เป็นไปได้ และแก้ไขภาวะที่อาจทำให้ลูกน้อยรู้สึกไม่สุขสบาย ได้แก่
– ตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ด้วยสัมผัสทางกายที่เหมาะสม
– คิดถึงสาเหตุเบื้องต้น เช่น หิว หนาว หรือร้อนเกินไป เสื้อผ้าหรือผ้าที่ห่อหุ้มแน่นเกินไป มีสิ่งกระตุ้นเช่นเสียงหรือแสงที่มากเกินไป
– เปลี่ยนวิธีการให้นม หรือเปลี่ยนสูตรนม
– ให้ทารกเรอเอาลมในกระเพาะออกหลังจากดูดนม โดยการอุ้มพาดบ่าด้วยความระมัดระวังหรือให้นั่งบนตักแล้วลูบหลังเบา ๆ อาจจะนวดท้องเบา ๆ วนตามเข็มนาฬิกา หากทารกดูดนมจากขวดนม ควรปรับท่าทางให้ทารกดูดนมได้สะดวกโดยไม่ดูดลมเข้าไป
– มีผู้แนะนำให้เปิดเครื่องดูดฝุ่น หรือไดร์เป่าผมให้ทารกได้ยิน เนื่องจากเป็นการเลียนแบบเสียงที่ทารกได้ยินขณะอยู่ในครรภ์ มีส่วนช่วยให้ผ่อนคลาย
ข้อควรระวัง เมื่อลูกร้องไห้
หากคุณพ่อคุณแม่ที่ดูแลลูกน้อยได้พยายามหาสาเหตุของการร้องไห้และ แก้ไข เท่าที่เป็นไปได้ จะพบว่าส่วนใหญ่ทารกจะหยุดร้องไห้ไปเองในเวลาไม่นาน แต่หากการร้องไห้ของทารกติดต่อกันไม่หยุดมาพร้อมกับอาการอื่น ๆ เช่น
– เสียงร้องไห้ฟังดูแปลก ๆ
– น้ำหนักไม่ขึ้น ทารกดูตัวเล็กกว่าที่ควรเป็น
– ท้องเสีย อาเจียน หรือท้องผูก หรือมีเลือดปนออกมาพร้อมกับการขับถ่าย
– ไม่ดูดนม หรือดูดน้อยมาก
– มีไข้ หรือมีผื่นขึ้นตามตัว
ควรพาทารกไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของความเจ็บป่วยทางกายครับ
และหากคุณพ่อคุณแม่เกิดความเครียดมากจากการดูแลลูกที่ร้องไห้บ่อย ๆ พาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจ และหาทางผ่อนคลายตนเองให้มากขึ้นจะเป็นทางออกที่ทำให้การเลี้ยงดูลูกราบรื่น ขึ้นครับ
CR : th.theasianparent.com
ลูกร้องไห้งอแงหนักมาก ไม่ยอมนอน เรามีเคล็ดลับมาฝาก?
ลูกร้องไห้งอแงหนักมาก ไม่ยอมนอน เรามีเคล็ดลับมาฝาก?
1.ใช้ผ้าห่อตัวลูกเวลานอน:
เด็ก แรกเกิดที่เพิ่งคลอดออกมามักต้องการความอบอุ่น และการโอบอุ้มอยู่ตลอดเวลา เพราะยังไม่คุ้นชินกับสภาวะภายนอก ดังนั้นการห่อลูกไว้ในผ้าห่อตัวสามารถช่วยให้ลูกหยุดร้องและนอนหลับได้เป็น ปกติ คุณแม่หลายท่านใช้วิธีนี้และได้ผลดีที่สุดค่ะ
2.อุ้มลูกท่าซุปเปอร์แมน:
อุ้ม ลูกท่านี้แกว่งไปมาไม่กี่นาทีหลับทุกรายค่ะ ถือว่าเป็นท่าไม้ตายที่ใช้กับเด็กที่ร้องไห้งอแง ดื้อสุดๆ ต้องเจอกับท่านี้เท่านั้นค่ะ ท่าอุ้มคือ จับลูกนอนคว่ำบนแขนทั้ง 2 ข้างของคุณแม่โดยที่คุณแม่ยืนอยู่ และโยกลูกไปทางด้านซ้ายและขวาเบาๆ รับรองลูกหลับสนิทแน่นอน
3.อุ้มลูกขึ้น-ลงบันได:
ท่า นี้เป็นท่าที่ทำให้ลูกหลับได้ง่ายเหมือนกันค่ะ ท่านี้ทำง่ายมาก แค่อุ้มลูกขึ้นบ่า และเดินขึ้นบันไดและลงบันได จากที่ลูกร้องไห้อยู่ก็จะรู้สึกเพลิดเพลินและหลับไปเองค่ะ ถ้าจะให้ดีต้องย่อขาเดินขึ้นลงไปเรื่อยๆจนกว่าลูกจะหลับนะคะ คุณแม่ยังได้ออกกำลังกายหลังคลอดอีกด้วยค่ะ
4.ท่านอนเปลอู่:
ท่านอนนี้ต้องมีผู้ช่วย 1 คน วิธีการคือ ปูผ้าเช็ดตัวลูกผืนใหญ่ๆไว้บนพื้น หรือ บนที่นอน และจับลูกนอนหงายบนผ้า ช่วยกันจับผ้าคนละฝั่งหัวกับท้ายแล้วยกลูกขึ้นมาแล้วเริ่มแกว่งไปมาเบาๆ อาจจะร้องเพลงให้ลูกฟังไปด้วย ท่านี้ใช้เวลาไม่นาน ช่วยให้ลูกหยุดร้องและทำให้ลูกหลับง่ายมากเช่นกันค่ะ
ถ้าทำทั้ง 4 ท่านี้แล้วลูกยังร้องไห้งอแง ไม่ยอมหลับไม่ยอมนอน ให้เช็คสุขภาพลูกว่ามีอาการป่วยหรือไม่ มีอาการปวดท้องหรือไม่ คุณแม่ควรหาสาเหตุและแก้ไขตรงส่วนนั้นๆก่อนค่ะ
CR : maerakluke
1.ใช้ผ้าห่อตัวลูกเวลานอน:
เด็ก แรกเกิดที่เพิ่งคลอดออกมามักต้องการความอบอุ่น และการโอบอุ้มอยู่ตลอดเวลา เพราะยังไม่คุ้นชินกับสภาวะภายนอก ดังนั้นการห่อลูกไว้ในผ้าห่อตัวสามารถช่วยให้ลูกหยุดร้องและนอนหลับได้เป็น ปกติ คุณแม่หลายท่านใช้วิธีนี้และได้ผลดีที่สุดค่ะ
2.อุ้มลูกท่าซุปเปอร์แมน:
อุ้ม ลูกท่านี้แกว่งไปมาไม่กี่นาทีหลับทุกรายค่ะ ถือว่าเป็นท่าไม้ตายที่ใช้กับเด็กที่ร้องไห้งอแง ดื้อสุดๆ ต้องเจอกับท่านี้เท่านั้นค่ะ ท่าอุ้มคือ จับลูกนอนคว่ำบนแขนทั้ง 2 ข้างของคุณแม่โดยที่คุณแม่ยืนอยู่ และโยกลูกไปทางด้านซ้ายและขวาเบาๆ รับรองลูกหลับสนิทแน่นอน
3.อุ้มลูกขึ้น-ลงบันได:
ท่า นี้เป็นท่าที่ทำให้ลูกหลับได้ง่ายเหมือนกันค่ะ ท่านี้ทำง่ายมาก แค่อุ้มลูกขึ้นบ่า และเดินขึ้นบันไดและลงบันได จากที่ลูกร้องไห้อยู่ก็จะรู้สึกเพลิดเพลินและหลับไปเองค่ะ ถ้าจะให้ดีต้องย่อขาเดินขึ้นลงไปเรื่อยๆจนกว่าลูกจะหลับนะคะ คุณแม่ยังได้ออกกำลังกายหลังคลอดอีกด้วยค่ะ
4.ท่านอนเปลอู่:
ท่านอนนี้ต้องมีผู้ช่วย 1 คน วิธีการคือ ปูผ้าเช็ดตัวลูกผืนใหญ่ๆไว้บนพื้น หรือ บนที่นอน และจับลูกนอนหงายบนผ้า ช่วยกันจับผ้าคนละฝั่งหัวกับท้ายแล้วยกลูกขึ้นมาแล้วเริ่มแกว่งไปมาเบาๆ อาจจะร้องเพลงให้ลูกฟังไปด้วย ท่านี้ใช้เวลาไม่นาน ช่วยให้ลูกหยุดร้องและทำให้ลูกหลับง่ายมากเช่นกันค่ะ
ถ้าทำทั้ง 4 ท่านี้แล้วลูกยังร้องไห้งอแง ไม่ยอมหลับไม่ยอมนอน ให้เช็คสุขภาพลูกว่ามีอาการป่วยหรือไม่ มีอาการปวดท้องหรือไม่ คุณแม่ควรหาสาเหตุและแก้ไขตรงส่วนนั้นๆก่อนค่ะ
CR : maerakluke
5 สิ่งที่ห้ามทำเกี่ยวกับการนอนของทารก
5 สิ่งที่ห้ามทำเกี่ยวกับการนอนของทารก
1. อย่านับการนอนหลับสั้นๆ ว่าเป็นการนอน
สำหรับเด็กทารกนั้นการนอนหลับอย่างที่เต็มที่ คือ การนอนที่นานกว่า 45 นาที การนอนสั้นๆ หรือ การนอนที่ไม่ถึง 45 นาทีนั้นไม่ใช่การนอนหลับอย่างเต็มที่ Elizabeth Pantley คุณแม่ลูกสี่ผู้เขียนหนังสือชื่อ The No-Cry Nap Solution ได้ ให้คำแนะนำว่า"การนอนหลับสั้นๆ ของทารกอาจทำให้คุณเข้าใจผิดได้ว่าลูกนอนหลับเพียงพอแล้วในแต่ละวัน แต่ความจริงแล้วการนอนแบบสั้นๆ หรือการนอนในระยะเวลาไม่นาน เป็นสาเหตุทำให้ทารกหงุดหงิด และร้องไห้บ่อยๆ ได้ เพราะทารกจะไม่ได้รับประโยชน์และไม่ได้รับพลังงานอย่างเต็มที่เท่ากับการนอน หลับนานๆ "
CR : th.theasianparent.com
1. อย่านับการนอนหลับสั้นๆ ว่าเป็นการนอน
สำหรับเด็กทารกนั้นการนอนหลับอย่างที่เต็มที่ คือ การนอนที่นานกว่า 45 นาที การนอนสั้นๆ หรือ การนอนที่ไม่ถึง 45 นาทีนั้นไม่ใช่การนอนหลับอย่างเต็มที่ Elizabeth Pantley คุณแม่ลูกสี่ผู้เขียนหนังสือชื่อ The No-Cry Nap Solution ได้ ให้คำแนะนำว่า"การนอนหลับสั้นๆ ของทารกอาจทำให้คุณเข้าใจผิดได้ว่าลูกนอนหลับเพียงพอแล้วในแต่ละวัน แต่ความจริงแล้วการนอนแบบสั้นๆ หรือการนอนในระยะเวลาไม่นาน เป็นสาเหตุทำให้ทารกหงุดหงิด และร้องไห้บ่อยๆ ได้ เพราะทารกจะไม่ได้รับประโยชน์และไม่ได้รับพลังงานอย่างเต็มที่เท่ากับการนอน หลับนานๆ "
- อย่าเพิ่งรีบไปหาทันทีเมื่อลูกตื่น
- อย่าปลุกลูก
- อย่าเมินเฉยต่ออาการง่วง
- อย่าใช้ผ้าห่มบ่อย
CR : th.theasianparent.com
มาสร้างความอบอุ่นให้ลูกน้อยกันเถอะ
มาสร้างความอบอุ่นให้ลูกน้อยกันเถอะ
หากวันไหนหาผ้าอ้อมใส่ให้ลูกไม่ได้ หรือผ้าอ้อมเปียกแฉะ และไม่ได้ซื้อเก็บไว้ คุณแม่จะหาทางออกยังไงเอ่ย
เรามีตัวช่วยมาแนะนำหากไม่มีผ้าอ้อมในมือ ด้วยการห่อตัวลูกง่ายๆ ด้วยผ้าขนหนู ซึ่งนอกจากผ้าขนหนูจะใช้แทนผ้าอ้อมแล้ว ยังสร้างความอบอุ่นให้ลูกน้อยเมื่อยามหนาวมาเยือนด้วย มาดูวิธีกันค่ะ
ก่อนอื่น เตรียมผ้าขนเช็ดตัวผืนใหญ่รูปทรงจัตุรัสเนื้อนิ่ม 2 ผืน และผ้าเช็ดตัวทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1 ผืน และเตรียมลูกน้อยให้พร้อม รวมทั้งคุณแม่ด้วย
แบบที่ 1 สร้างความอบอุ่นให้ทารก
วางผ้าเช็ดตัวลงในแนวเฉียงตามรูป แล้วพับผ้ามุมแหลมส่วนบนลงมาถึงกึ่งกลางผ้า จากนั้นวางลูกน้อยลงตรงมุมที่พับลงมาโดยเหลือส่วนแขนและศีรษะไว้ จากนั้นให้พับมุมขวาเข้าหาตัวลูก ปลายมุมให้สอดไว้ด้านหลัง แบบพอดีตัวไม่แน่นมาก และพับมุมด้านล่างขึ้นมาข้างบนสุด และสอดปลายไว้ สุดท้ายให้พับมุมซ้ายเข้าหาทารก เท่านี้ก็เรียบร้อยค่ะ
แบบที่ 2 สร้างความอบอุ่นให้เจ้าตัวน้อยและขาทารก
วางผ้าเช็ดตัวให้เป็นรูปแนวเฉียงตามแบบที่ 1 แล้วพับมุมแหลมส่วนบนลงมาประมาณ 1/3 และวางลูกน้อยลง แล้วพับผ้าซีกขวาเข้าหาลูกน้อย สอดแขนเข้าหาไปในผ้าแล้วพับซีกซ้ายเข้าหาทารก และสุดท้ายให้ดึงมุมผ้าตรงเหลี่ยมด้านล่างตลบขึ้นมาเหน็บไว้ที่ด้านหลังของ ทารก เท่านี้ลูกน้อยก็อุ่นทั้งตัวและขาแล้วค่ะ
แบบที่ 3 เวลาที่ลูกน้อยพึ่งอาบน้ำเสร็จ
ให้เลือกใช้ผ้าเช็ดตัวแบบมีหมวก โดยวางลูกน้อยลงตรงกลางผืนผ้า
จากนั้นพับซีกผ้าด้านซ้ายเข้าหาตัว และพับซีกขวาเข้าหาทารกอีกที
เท่านี้ก็เรียบร้อยค่ะ และอย่าลืมเช็ดหัวและเช็ดตัวทารกเบาๆ
แต่ให้แห้งสนิทค่ะ
สำหรับบ้านไหนที่มีทารกน้อย ขอแนะนำให้ซื้อผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่มาติดไว้ที่บ้านสักผืนสองผืนนะคะเอาไว้ห่อตัวลูกน้อยค่ะ เพราะว่าการห่อตัวลูกน้อยด้วยผ้าเช็ดตัวมีข้อดีมากมายคือ
- การห่อตัวลูกน้อยด้วยผ้าเช็ดตัว จะทำให้ลูกน้อยรู้สึกอบอุ่น โดยเฉพาะเวลาที่ได้ม้วนตัวด้วยผ้านุ่มๆ เขาจะนิ่งและผ่อนคลายได้อย่างมหัศจรรย์ จนนอนหลับสบาย ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่า ผ้านุ่มๆ น่าสัมผัส ลูกน้อยจะรู้สึกอบอุ่นอย่างมหัศจรรย์ ว่ากันว่าให้ความรู้สึกเหมือนตอนอยู่ในท้องแม่ รู้สึกเหมือนได้รับการปกป้อง
- ข้อดีอีกอย่างหนึ่งลูกน้อยไม่จำเป็นต้องสวมเสื้อผ้าก็ได้ค่ะ เขาได้รับอิสระโดยไม่มีเสื้อและกางเกงมาคลุมตัว ทำให้รู้สึกโล่ง สบายและอบอุ่นค่ะ
- การห่อหุ้มลูกน้อยนั้น ต้องอาศัยความรู้สึกทะนุถนอม เพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกสบาย เหมือนเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ผ้าเช็ดตัวห่อหุ้มลูกด้วยผ้าเช็ดตัวนั้น ระวังอย่าให้รัดแน่นจนเกินไปควรเหลือที่ว่างให้ทารกได้ขยับเขยื้อนได้บ้างค่ะ ทั้งนี้ก็จะได้ฝึกกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย
- เวลาเลือกซื้อผ้าเช็ดตัวให้เลือกที่มีเนื้อผ้านิ่ม ยืดหยุ่นโดยมีขนาดมาตรฐานคือ 60 x 90 เซนติเมตร คุณแม่จะพบว่าลูกมีความสนุกขนาดไหนเวลาที่ลูกน้อยได้ถูกห่อหุ้มด้วยผ้าเช็ดตัวอันแสนอบอุ่นค่ะ
Cr : mother and child
หากวันไหนหาผ้าอ้อมใส่ให้ลูกไม่ได้ หรือผ้าอ้อมเปียกแฉะ และไม่ได้ซื้อเก็บไว้ คุณแม่จะหาทางออกยังไงเอ่ย
เรามีตัวช่วยมาแนะนำหากไม่มีผ้าอ้อมในมือ ด้วยการห่อตัวลูกง่ายๆ ด้วยผ้าขนหนู ซึ่งนอกจากผ้าขนหนูจะใช้แทนผ้าอ้อมแล้ว ยังสร้างความอบอุ่นให้ลูกน้อยเมื่อยามหนาวมาเยือนด้วย มาดูวิธีกันค่ะ
ก่อนอื่น เตรียมผ้าขนเช็ดตัวผืนใหญ่รูปทรงจัตุรัสเนื้อนิ่ม 2 ผืน และผ้าเช็ดตัวทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1 ผืน และเตรียมลูกน้อยให้พร้อม รวมทั้งคุณแม่ด้วย
แบบที่ 1 สร้างความอบอุ่นให้ทารก
วางผ้าเช็ดตัวลงในแนวเฉียงตามรูป แล้วพับผ้ามุมแหลมส่วนบนลงมาถึงกึ่งกลางผ้า จากนั้นวางลูกน้อยลงตรงมุมที่พับลงมาโดยเหลือส่วนแขนและศีรษะไว้ จากนั้นให้พับมุมขวาเข้าหาตัวลูก ปลายมุมให้สอดไว้ด้านหลัง แบบพอดีตัวไม่แน่นมาก และพับมุมด้านล่างขึ้นมาข้างบนสุด และสอดปลายไว้ สุดท้ายให้พับมุมซ้ายเข้าหาทารก เท่านี้ก็เรียบร้อยค่ะ
แบบที่ 2 สร้างความอบอุ่นให้เจ้าตัวน้อยและขาทารก
วางผ้าเช็ดตัวให้เป็นรูปแนวเฉียงตามแบบที่ 1 แล้วพับมุมแหลมส่วนบนลงมาประมาณ 1/3 และวางลูกน้อยลง แล้วพับผ้าซีกขวาเข้าหาลูกน้อย สอดแขนเข้าหาไปในผ้าแล้วพับซีกซ้ายเข้าหาทารก และสุดท้ายให้ดึงมุมผ้าตรงเหลี่ยมด้านล่างตลบขึ้นมาเหน็บไว้ที่ด้านหลังของ ทารก เท่านี้ลูกน้อยก็อุ่นทั้งตัวและขาแล้วค่ะ
แบบที่ 3 เวลาที่ลูกน้อยพึ่งอาบน้ำเสร็จ
สำหรับบ้านไหนที่มีทารกน้อย ขอแนะนำให้ซื้อผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่มาติดไว้ที่บ้านสักผืนสองผืนนะคะเอาไว้ห่อตัวลูกน้อยค่ะ เพราะว่าการห่อตัวลูกน้อยด้วยผ้าเช็ดตัวมีข้อดีมากมายคือ
- การห่อตัวลูกน้อยด้วยผ้าเช็ดตัว จะทำให้ลูกน้อยรู้สึกอบอุ่น โดยเฉพาะเวลาที่ได้ม้วนตัวด้วยผ้านุ่มๆ เขาจะนิ่งและผ่อนคลายได้อย่างมหัศจรรย์ จนนอนหลับสบาย ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่า ผ้านุ่มๆ น่าสัมผัส ลูกน้อยจะรู้สึกอบอุ่นอย่างมหัศจรรย์ ว่ากันว่าให้ความรู้สึกเหมือนตอนอยู่ในท้องแม่ รู้สึกเหมือนได้รับการปกป้อง
- ข้อดีอีกอย่างหนึ่งลูกน้อยไม่จำเป็นต้องสวมเสื้อผ้าก็ได้ค่ะ เขาได้รับอิสระโดยไม่มีเสื้อและกางเกงมาคลุมตัว ทำให้รู้สึกโล่ง สบายและอบอุ่นค่ะ
- การห่อหุ้มลูกน้อยนั้น ต้องอาศัยความรู้สึกทะนุถนอม เพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกสบาย เหมือนเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ผ้าเช็ดตัวห่อหุ้มลูกด้วยผ้าเช็ดตัวนั้น ระวังอย่าให้รัดแน่นจนเกินไปควรเหลือที่ว่างให้ทารกได้ขยับเขยื้อนได้บ้างค่ะ ทั้งนี้ก็จะได้ฝึกกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย
- เวลาเลือกซื้อผ้าเช็ดตัวให้เลือกที่มีเนื้อผ้านิ่ม ยืดหยุ่นโดยมีขนาดมาตรฐานคือ 60 x 90 เซนติเมตร คุณแม่จะพบว่าลูกมีความสนุกขนาดไหนเวลาที่ลูกน้อยได้ถูกห่อหุ้มด้วยผ้าเช็ดตัวอันแสนอบอุ่นค่ะ
Cr : mother and child
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)