วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Hot ! เเจก Coupon Code ฟรี 500 บาท สำหรับเก้าอี้พกพาทานอาหารนอกบ้านในบ้านจากBabymoov ฝรั่งเศส






พิมพ์ happymay2016-1 ในช่อง Coupon Code ลดทันที 500 บาท
 
Babymoov-เก้าอี้นั่งสำหรับเด็กแบบพกพา
Compact Booster Seat
The Very compact Booster Seat for baby!

 

เก้าอี้นั่งสำหรับเด็กแบบพกพา
เก้าอี้นั่งไว้สำหรับให้ลูกน้อยนั่งร่วมโต๊ะอาหารกับครอบครัว  หรือ พกพาไว้สำหรับไปข้างนอก
มาพร้อมกับรูปทรงกะทัดรัด พกพาสะดวก  

  •     สามารถพับเก็บได้

  •     เบาะนั่งทำจากวัสดุ EVA Foam ทำให้นั่งได้อย่างสบาย

  •     ปรับระดับความสูงได้ 3 ระดับ ตามช่วงอายุการใช้งาน

  •     มาพร้อมเข็มขัด 3 เส้น: สำหรับเด็กทารก (3 points harness), สำหรับคาดไปด้านหลัง,สำหรับคาดที่นั่ง

  •     ปรับเพื่อใช้งานได้กับทุกเก้าอี้นั่ง ด้วยอุปกรณ์ที่สามารถถอดแยกเพื่อปรับใช้งานได้อย่างอิสระ

  •     ถาดสามารถถอดออกได้

  •     ใช้งานง่าย

meterial : PP + microfibre
Dimensions: 32 x 38 x 21 cm
Tips : เวลาไปนั่งทานข้าวตามร้านอาหาร เ้ก้าอี้ตัวนี้จะช่วยให้ลูกน้อยนั่งร่วมโต๊ะกับเราได้อย่างปลอดภัยค่ะ

Adjustable to any chair: the front and back feet are independently adjustable
Becomes a child armchair
3 heights adapted to baby's age

Foldable:17 cm once folded

  •         Really comfortable booster seat: EVA foam

  •         3 heights adapted to kids' age

  •         3 harnesses: one for the baby (3 points harness), one for the back, one for the sea

  •         Adjustable to any chair: the front and back feet are independantly adjustable

  •         Removable table tray

  •         Handle to carry it easily

Material : PP + microfibre
Dimensions38 x 36,5 x 39 cm (unfolded), 32 x 38 x 20 cm (folded) 36 x 21 x 3,5 cm (tray)
Use6 up to the age of 3 or for babies weighing up to 15kg


วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ปล่อยให้ลูกร้องจนหลับไปเองตอนกลางคืนดีไหม?

ปล่อยให้ลูกร้องจนหลับไปเองตอนกลางคืนดีไหม?



พ่อแม่มักจะสับสน ทำอะไรไม่ถูกเวลาลูกร้อง ไม่รู้ว่าควรจะปล่อยให้ร้องจนเงียบไปเองหรือไปโอ๋ให้หยุด ลองมาดูซิว่าผู้เชี่ยวชาญเรื่องเด็กมีความเห็นและแนะนำพ่อแม่ป้ายแดงให้รับ มือกับความท้าทายนี้อย่างไร

เด็กอ่อนร้องเพื่อเรียกความสนใจจากพ่อแม่ให้ตอบสนองความต้องการของตัวเอง สิ่งที่ท้าทายและยากมากสำหรับพ่อแม่มือใหม่คือจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเราต้อง การอะไร
 
แยกแยะเสียงร้องให้ออก

สิ่งเดียวที่จะทำให้พ่อแม่รู้ได้ก็คือการสังเกต พ่อแม่ควรสังเกตเสียงร้องของลูกตั้งแต่ตอนเริ่มต้นที่พาเขากลับบ้าน ยิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้แยกแยะได้ใกล้เคียงและเร็วขึ้นเท่านั้น เสียงร้องของเด็กก็มีน้ำเสียงที่บอกให้รู้ว่ามีอารมณ์แบบไหน เช่น ร้องบอกว่าผ้าอ้อมแฉะหมดแล้ว รีบมาเปลี่ยนให้เดี๋ยวนี้ หรือเพราะหิว ลองสังเกตดูสักพัก คุณก็พอจะบอกได้ ถือว่าเป็นการเริ่มต้นการสื่อสารที่ดีระหว่างคุณกับลูกน้อย นอกจากจะทำให้คุณเหนื่อยน้อยลงแล้ว ถ้าคุณเดาความต้องการของลูกได้ถูกต้องจากการสังเกตของคุณเอง จะทำให้รู้สึกว่าคุณกับลูกคุยกันรู้เรื่อง คุณจะไม่รำคาญเมื่อได้ยินลูกร้อง เพราะมันเหมือนกับเขากำลังคุยหรือบอกอะไรคุณด้วยภาษาของเขาเองก่อนที่เขาจะ โตพอที่คุณจะสื่อสารด้วยคำพูดได้ พยายามสังเกตและแยกให้ออกว่าลูกกำลังบอกอะไรคุณ

ปล่อยให้ลูกร้องสักพัก

ยิ่งคุณสังเกตตั้งแต่ต้นเวลาลูกร้องว่าร้องเพราะอะไร นอกจากจะทำให้คุณเริ่มเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแยกแยะเสียงร้องของเด็กอ่อนแล้ว ยังทำให้คุณรู้ว่าถ้าร้องแบบนี้ ไม่ต้องรีบไปดู ปล่อยให้ร้องอีกหน่อยแล้วค่อยไปก็ได้ คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย ในขณะเดียวกันก็เป็นการฝึกวินัยเด็กอ่อนด้วยว่าบางครั้งต้องรอ จะได้ไม่เป็นเด็กที่เอาแต่ใจ ต้องการอะไรต้องได้ในทันที ถ้าเป็นแบบนี้ พ่อแม่รับมือไม่ไหวแน่ ๆ ปล่อยให้ลูกร้องสักพักเป็นการฝึกวินัยเด็กให้รู้จักการรอคอยตั้งแต่แบเบาะ บ้าง

ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ

คงไม่มีพ่อแม่คนไหนที่ปล่อยให้ลูกร้องจนเสียงแหบเสียงแห้งอย่างแน่ นอน ดังนั้นจะทำอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับพ่อแม่ทั้งสิ้น เพียงแต่อย่าลืมว่าพ่อแม่ที่สังเกตพฤติกรรมการร้องของลูกและแยกแยะให้ออก ตั้งแต่เริ่มต้นจะเป็นผลดีแก่ทุกฝ่าย ทั้งพ่อแม่และตัวเด็กเองที่เหมือนสื่อสารกันได้ดีในระดับหนึ่ง เสียงร้องของลูกที่คุณต้องรีบดูแลก็เช่น เปลี่ยนผ้าอ้อม หิว ร้อนไปหรือหนาวไป แต่ในบางครั้งถ้าไม่สำคัญนัก ก็ถือว่าเป็นการฝึกวินัยการรอและออกกำลังปอดของเด็กไปในตัวด้วย

CR : the asiaparent

คุยกับคุณหมอ: เมื่อลูกน้อยร้องไห้ไม่หยุด

คุยกับคุณหมอ: เมื่อลูกน้อยร้องไห้ไม่หยุด




เมื่อลูกน้อยในวัยทารกร้องไห้เป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้คุณพ่อและคุณแม่เริ่มกังวลว่าการร้องไห้จะมีผลมาจากปัญหาสุขภาพที่ ซ่อนอยู่หรือไม่ บางครั้งอาจถึงกับทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความเครียดจากการร้องไห้ที่หาสาเหตุ ไม่เจอเสียที
เด็กทารกแต่ละคนจะแตกต่างกันไป บางคนร้องไห้ง่าย และร้องไห้ครั้งละนาน ๆ บางคนอาจจะไม่ร้องไห้เลยก็เป็นได้ หากทารกอยู่ในวัยสามสัปดาห์ขึ้นไป และร้องไห้ติดต่อกันมากกว่าสามชั่วโมงต่อวัน นานมากกว่าสามวันในหนึ่งสัปดาห์ เป็นไปได้ว่าทารกอาจจะอยู่ในภาวะ โคลิค (colic) ซึ่ง ไม่เป็นอันตรายต่อทารก แต่มักจะตามมาด้วยปัญหาความเครียดของผู้ดูแล บ่อยครั้งที่นำไปสู่ภาวะอื่น ๆ ที่น่าเป็นห่วง เช่นปัญหาการซึมเศร้าของมารดา การละเลยไม่ดูแล หรือการหย่านมแม่ก่อนวัยอันควร

ทำไมลูกถึงร้องไห้?

การร้องไห้ของทารก เป็นการบ่งบอกว่าทารกมีความต้องการอะไรบางอย่างหรืออยู่ในภาวะที่ไม่สุขสบาย เช่น หิว ต้องการดื่มนม เจ็บปวด ไม่สบาย ทารกจะร้องไห้ครั้งละนาน ๆ ได้ ถึงแม้ผู้ดูแลจะพยายามหาสาเหตุที่เป็นไปได้แล้วก็ตาม เชื่อกันว่าสาเหตุที่ทำให้ทารกร้องไห้ครั้งละนาน ๆ นั้น น่าจะมาจากการระบบทางเดินอาหารที่กำลังพัฒนานำไปสู่การย่อยนมที่ยังไม่ สมบูรณ์และไม่สามารถกำจัดก๊าซที่เกิดจากการย่อยอาหารได้ การพัฒนาของระบบประสาทที่ยังไม่เต็มที่ ทารกจึงไม่สามารถที่จะออกคำสั่งให้หยุดร้องไห้ได้ง่าย ๆ การไม่ได้รับสัมผัสที่เพียงพอ และอีกหลายข้อสันนิษฐาน

ทำอย่างไรถึงจะหยุดร้องไห้?

เมื่อทารกร้องไห้ คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามหาสาเหตุที่เป็นไปได้ และแก้ไขภาวะที่อาจทำให้ลูกน้อยรู้สึกไม่สุขสบาย ได้แก่
– ตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ด้วยสัมผัสทางกายที่เหมาะสม
– คิดถึงสาเหตุเบื้องต้น เช่น หิว หนาว หรือร้อนเกินไป เสื้อผ้าหรือผ้าที่ห่อหุ้มแน่นเกินไป มีสิ่งกระตุ้นเช่นเสียงหรือแสงที่มากเกินไป
– เปลี่ยนวิธีการให้นม หรือเปลี่ยนสูตรนม
– ให้ทารกเรอเอาลมในกระเพาะออกหลังจากดูดนม โดยการอุ้มพาดบ่าด้วยความระมัดระวังหรือให้นั่งบนตักแล้วลูบหลังเบา ๆ อาจจะนวดท้องเบา ๆ วนตามเข็มนาฬิกา หากทารกดูดนมจากขวดนม ควรปรับท่าทางให้ทารกดูดนมได้สะดวกโดยไม่ดูดลมเข้าไป
– มีผู้แนะนำให้เปิดเครื่องดูดฝุ่น หรือไดร์เป่าผมให้ทารกได้ยิน เนื่องจากเป็นการเลียนแบบเสียงที่ทารกได้ยินขณะอยู่ในครรภ์ มีส่วนช่วยให้ผ่อนคลาย

ข้อควรระวัง เมื่อลูกร้องไห้

หากคุณพ่อคุณแม่ที่ดูแลลูกน้อยได้พยายามหาสาเหตุของการร้องไห้และ แก้ไข เท่าที่เป็นไปได้ จะพบว่าส่วนใหญ่ทารกจะหยุดร้องไห้ไปเองในเวลาไม่นาน แต่หากการร้องไห้ของทารกติดต่อกันไม่หยุดมาพร้อมกับอาการอื่น ๆ เช่น
– เสียงร้องไห้ฟังดูแปลก ๆ
– น้ำหนักไม่ขึ้น ทารกดูตัวเล็กกว่าที่ควรเป็น
– ท้องเสีย อาเจียน หรือท้องผูก หรือมีเลือดปนออกมาพร้อมกับการขับถ่าย
– ไม่ดูดนม หรือดูดน้อยมาก
– มีไข้ หรือมีผื่นขึ้นตามตัว
ควรพาทารกไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของความเจ็บป่วยทางกายครับ
และหากคุณพ่อคุณแม่เกิดความเครียดมากจากการดูแลลูกที่ร้องไห้บ่อย ๆ พาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจ และหาทางผ่อนคลายตนเองให้มากขึ้นจะเป็นทางออกที่ทำให้การเลี้ยงดูลูกราบรื่น ขึ้นครับ

CR : th.theasianparent.com

ลูกร้องไห้งอแงหนักมาก ไม่ยอมนอน เรามีเคล็ดลับมาฝาก?

ลูกร้องไห้งอแงหนักมาก ไม่ยอมนอน เรามีเคล็ดลับมาฝาก?




1.ใช้ผ้าห่อตัวลูกเวลานอน:

เด็ก แรกเกิดที่เพิ่งคลอดออกมามักต้องการความอบอุ่น และการโอบอุ้มอยู่ตลอดเวลา เพราะยังไม่คุ้นชินกับสภาวะภายนอก ดังนั้นการห่อลูกไว้ในผ้าห่อตัวสามารถช่วยให้ลูกหยุดร้องและนอนหลับได้เป็น ปกติ คุณแม่หลายท่านใช้วิธีนี้และได้ผลดีที่สุดค่ะ

2.อุ้มลูกท่าซุปเปอร์แมน:

อุ้ม ลูกท่านี้แกว่งไปมาไม่กี่นาทีหลับทุกรายค่ะ ถือว่าเป็นท่าไม้ตายที่ใช้กับเด็กที่ร้องไห้งอแง ดื้อสุดๆ ต้องเจอกับท่านี้เท่านั้นค่ะ ท่าอุ้มคือ จับลูกนอนคว่ำบนแขนทั้ง 2 ข้างของคุณแม่โดยที่คุณแม่ยืนอยู่ และโยกลูกไปทางด้านซ้ายและขวาเบาๆ รับรองลูกหลับสนิทแน่นอน

3.อุ้มลูกขึ้น-ลงบันได:

ท่า นี้เป็นท่าที่ทำให้ลูกหลับได้ง่ายเหมือนกันค่ะ ท่านี้ทำง่ายมาก แค่อุ้มลูกขึ้นบ่า และเดินขึ้นบันไดและลงบันได จากที่ลูกร้องไห้อยู่ก็จะรู้สึกเพลิดเพลินและหลับไปเองค่ะ ถ้าจะให้ดีต้องย่อขาเดินขึ้นลงไปเรื่อยๆจนกว่าลูกจะหลับนะคะ คุณแม่ยังได้ออกกำลังกายหลังคลอดอีกด้วยค่ะ

4.ท่านอนเปลอู่:

ท่านอนนี้ต้องมีผู้ช่วย 1 คน วิธีการคือ ปูผ้าเช็ดตัวลูกผืนใหญ่ๆไว้บนพื้น หรือ บนที่นอน และจับลูกนอนหงายบนผ้า ช่วยกันจับผ้าคนละฝั่งหัวกับท้ายแล้วยกลูกขึ้นมาแล้วเริ่มแกว่งไปมาเบาๆ อาจจะร้องเพลงให้ลูกฟังไปด้วย ท่านี้ใช้เวลาไม่นาน ช่วยให้ลูกหยุดร้องและทำให้ลูกหลับง่ายมากเช่นกันค่ะ

ถ้าทำทั้ง 4 ท่านี้แล้วลูกยังร้องไห้งอแง ไม่ยอมหลับไม่ยอมนอน ให้เช็คสุขภาพลูกว่ามีอาการป่วยหรือไม่ มีอาการปวดท้องหรือไม่ คุณแม่ควรหาสาเหตุและแก้ไขตรงส่วนนั้นๆก่อนค่ะ

CR : maerakluke

5 สิ่งที่ห้ามทำเกี่ยวกับการนอนของทารก

5 สิ่งที่ห้ามทำเกี่ยวกับการนอนของทารก






1. อย่านับการนอนหลับสั้นๆ ว่าเป็นการนอน
สำหรับเด็กทารกนั้นการนอนหลับอย่างที่เต็มที่ คือ การนอนที่นานกว่า 45 นาที การนอนสั้นๆ หรือ การนอนที่ไม่ถึง 45 นาทีนั้นไม่ใช่การนอนหลับอย่างเต็มที่ Elizabeth Pantley คุณแม่ลูกสี่ผู้เขียนหนังสือชื่อ The No-Cry Nap Solution ได้ ให้คำแนะนำว่า"การนอนหลับสั้นๆ ของทารกอาจทำให้คุณเข้าใจผิดได้ว่าลูกนอนหลับเพียงพอแล้วในแต่ละวัน แต่ความจริงแล้วการนอนแบบสั้นๆ หรือการนอนในระยะเวลาไม่นาน เป็นสาเหตุทำให้ทารกหงุดหงิด และร้องไห้บ่อยๆ ได้ เพราะทารกจะไม่ได้รับประโยชน์และไม่ได้รับพลังงานอย่างเต็มที่เท่ากับการนอน หลับนานๆ "

  1. อย่าเพิ่งรีบไปหาทันทีเมื่อลูกตื่น
เป็นเรื่องปกติ ที่ระหว่างนอนทารกอาจหลับๆ ตื่นๆ บ้าง การที่พ่อแม่รีบวิ่งไปหาลูกเมื่อลูกตื่นแล้วร้อง อาจเป็นการกวนลูกหรือทำให้ลูกตื่นขึ้นมาทันทีแทนที่จะได้นอนต่อนานๆ ทารกต้องการความเงียบและความสงบในการนอน ตอนลูกเริ่มนอนก็เช่นกัน หากลูกไม่ยอมนอนเสียที พ่อแม่อาจปล่อยลูกไว้ในเปลคนเดียวนานประมาณ 30 นาที เพื่อให้บรรยากาศสงบ แล้วลูกจะนอนหลับง่ายขึ้น

  1. อย่าปลุกลูก
สำหรับเด็กวัย 4 เดือนขึ้นไป อย่าปลุกลูก เว้นแต่จำเป็นจริง ๆ พ่อแม่หลายคนมักกังวลว่าถ้าลูกนอนตอนกลางวันนาน ๆ พอตกกลางคืนลูกจะหลับยาก Dr. Jennifer Shu กุมารแพทย์และผู้ร่วมเขียนหนังสือ Heading Home with Your Newborn ได้ แนะนำว่า พยายามอย่าปลุกทารกที่กำลังหลับอยู่ เพราะเด็กหลายคนที่หลับนานช่วงกลางวัน ก็หลับนานในช่วงกลางคืนได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้การปลุกลูกจากการนอนนาน ๆ ยังทำให้ลูกไม่ได้รับประโยชน์และไม่ได้รับพลังงานจากการนอนอย่างเต็มที่ด้วย

  1. อย่าเมินเฉยต่ออาการง่วง
Dr. Marc Weissbluth ผู้เขียนหนังสือ Healthy Sleep Habits, Happy Child ได้ ให้คำแนะนำว่า พ่อแม่ไม่ควรเมินเฉยๆ ต่ออาการแปลกของลูกเพราะนั่นอาจหมายถึงอาการง่วงได้ เด็กบางคนอาจไม่ได้แค่หาวเวลาง่วง แต่มีอาการอื่นๆ มากมายที่บ่งบอกว่าลูกง่วง เช่น เปลือกตาตก ตาลอย หงุดหงิด ร้องไห้ หากคุณพบอาการดังกล่าวควรกล่อมลูกนอนทันที เพราะหากยังไม่ได้นอนเสียที อาจทำให้เด็กหรือทารกเข้าสู่ภาวะเหนื่อยมากเกินไป (overtired zone) และจะยิ่งงอแงเข้าไปอีก

  1. อย่าใช้ผ้าห่มบ่อย
สมาคมกุมารเวชศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำแนะนำว่าพ่อแม่ไม่ควรซื้อ ทั้งหมอน ผ้าห่ม ผ้านวมคลุมเตียง ผ้ารองผ้าห่ม ผ้านวมบุรอบเตียงมาวางไว้ใกล้บริเวณที่ทารกนอนหลับ เพราะเครื่องนอนที่วางไว้เยอะมากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อทารกได้ เครื่องนอนเหล่านี้อาจทำให้เกิดการตายแบบกะทันหันหรืออาการหลับไม่ตื่นใน เด็กทารก (Sudden Infant Death Syndrome) เช่น หากมีผ้านวมบุรอบเตียงอาจทำให้หน้าของเด็กไปซุกอยู่บริเวณผ้านวมขณะนอนหลับ และทำให้เด็กหายใจไม่ออกได้


CR :  th.theasianparent.com

มาสร้างความอบอุ่นให้ลูกน้อยกันเถอะ

มาสร้างความอบอุ่นให้ลูกน้อยกันเถอะ

หากวันไหนหาผ้าอ้อมใส่ให้ลูกไม่ได้ หรือผ้าอ้อมเปียกแฉะ และไม่ได้ซื้อเก็บไว้ คุณแม่จะหาทางออกยังไงเอ่ย



เรามีตัวช่วยมาแนะนำหากไม่มีผ้าอ้อมในมือ ด้วยการห่อตัวลูกง่ายๆ ด้วยผ้าขนหนู ซึ่งนอกจากผ้าขนหนูจะใช้แทนผ้าอ้อมแล้ว ยังสร้างความอบอุ่นให้ลูกน้อยเมื่อยามหนาวมาเยือนด้วย มาดูวิธีกันค่ะ
ก่อนอื่น เตรียมผ้าขนเช็ดตัวผืนใหญ่รูปทรงจัตุรัสเนื้อนิ่ม 2 ผืน และผ้าเช็ดตัวทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1 ผืน และเตรียมลูกน้อยให้พร้อม รวมทั้งคุณแม่ด้วย



แบบที่ 1 สร้างความอบอุ่นให้ทารก
วางผ้าเช็ดตัวลงในแนวเฉียงตามรูป แล้วพับผ้ามุมแหลมส่วนบนลงมาถึงกึ่งกลางผ้า จากนั้นวางลูกน้อยลงตรงมุมที่พับลงมาโดยเหลือส่วนแขนและศีรษะไว้ จากนั้นให้พับมุมขวาเข้าหาตัวลูก ปลายมุมให้สอดไว้ด้านหลัง แบบพอดีตัวไม่แน่นมาก และพับมุมด้านล่างขึ้นมาข้างบนสุด และสอดปลายไว้ สุดท้ายให้พับมุมซ้ายเข้าหาทารก เท่านี้ก็เรียบร้อยค่ะ

แบบที่ 2 สร้างความอบอุ่นให้เจ้าตัวน้อยและขาทารก
วางผ้าเช็ดตัวให้เป็นรูปแนวเฉียงตามแบบที่ 1 แล้วพับมุมแหลมส่วนบนลงมาประมาณ 1/3 และวางลูกน้อยลง แล้วพับผ้าซีกขวาเข้าหาลูกน้อย สอดแขนเข้าหาไปในผ้าแล้วพับซีกซ้ายเข้าหาทารก และสุดท้ายให้ดึงมุมผ้าตรงเหลี่ยมด้านล่างตลบขึ้นมาเหน็บไว้ที่ด้านหลังของ ทารก เท่านี้ลูกน้อยก็อุ่นทั้งตัวและขาแล้วค่ะ

แบบที่ 3 เวลาที่ลูกน้อยพึ่งอาบน้ำเสร็จ
ให้เลือกใช้ผ้าเช็ดตัวแบบมีหมวก โดยวางลูกน้อยลงตรงกลางผืนผ้า จากนั้นพับซีกผ้าด้านซ้ายเข้าหาตัว และพับซีกขวาเข้าหาทารกอีกที เท่านี้ก็เรียบร้อยค่ะ และอย่าลืมเช็ดหัวและเช็ดตัวทารกเบาๆ แต่ให้แห้งสนิทค่ะ

สำหรับบ้านไหนที่มีทารกน้อย ขอแนะนำให้ซื้อผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่มาติดไว้ที่บ้านสักผืนสองผืนนะคะเอาไว้ห่อตัวลูกน้อยค่ะ เพราะว่าการห่อตัวลูกน้อยด้วยผ้าเช็ดตัวมีข้อดีมากมายคือ
- การห่อตัวลูกน้อยด้วยผ้าเช็ดตัว จะทำให้ลูกน้อยรู้สึกอบอุ่น โดยเฉพาะเวลาที่ได้ม้วนตัวด้วยผ้านุ่มๆ เขาจะนิ่งและผ่อนคลายได้อย่างมหัศจรรย์ จนนอนหลับสบาย ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่า ผ้านุ่มๆ น่าสัมผัส ลูกน้อยจะรู้สึกอบอุ่นอย่างมหัศจรรย์ ว่ากันว่าให้ความรู้สึกเหมือนตอนอยู่ในท้องแม่ รู้สึกเหมือนได้รับการปกป้อง
- ข้อดีอีกอย่างหนึ่งลูกน้อยไม่จำเป็นต้องสวมเสื้อผ้าก็ได้ค่ะ เขาได้รับอิสระโดยไม่มีเสื้อและกางเกงมาคลุมตัว ทำให้รู้สึกโล่ง สบายและอบอุ่นค่ะ
- การห่อหุ้มลูกน้อยนั้น ต้องอาศัยความรู้สึกทะนุถนอม เพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกสบาย เหมือนเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ผ้าเช็ดตัวห่อหุ้มลูกด้วยผ้าเช็ดตัวนั้น ระวังอย่าให้รัดแน่นจนเกินไปควรเหลือที่ว่างให้ทารกได้ขยับเขยื้อนได้บ้างค่ะ ทั้งนี้ก็จะได้ฝึกกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย
- เวลาเลือกซื้อผ้าเช็ดตัวให้เลือกที่มีเนื้อผ้านิ่ม ยืดหยุ่นโดยมีขนาดมาตรฐานคือ 60 x 90 เซนติเมตร คุณแม่จะพบว่าลูกมีความสนุกขนาดไหนเวลาที่ลูกน้อยได้ถูกห่อหุ้มด้วยผ้าเช็ดตัวอันแสนอบอุ่นค่ะ

Cr : mother and child

"การนอน" ของลูกนั้น..สำคัญไฉน



"การนอน" ของลูกนั้น..สำคัญไฉน




เมื่อ พูดถึงการนอนของลูก เชื่อว่าพ่อแม่หลาย ๆ ท่านคงมีคำถามเกี่ยวกับการนอนของลูกกันอยู่ไม่น้อย เช่น เด็กควรนอนวันละกี่ชั่วโมง ควรปลุกให้ดื่มนมตามเวลาหรือไม่ เด็กจะนอนได้ทั้งคืนโดยไม่ตื่นมากินนมตอนอายุเท่าไร แล้วทำไมเด็กเล็ก ๆ บางคนตื่นบ่อยและโยเยตอนกลางคืน หรือไม่ยอมนอน ต้องอุ้มกล่อมหรือป้อนนมทุกครั้ง
     
       คำถามเหล่านี้ ทีมงาน Life & Family มีคำแนะนำดี ๆ จาก พญ.ศุภรัตนา คุณานุสนธิ์ กุมาร แพทย์ โรงพยาบาลเวชธานีมาคลายข้อสงสัยกัน โดยปัญหาการนอนของเด็กตั้งแต่วัยขวบปีแรกจนถึงเด็กโตนั้น เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ๆ ประมาณ 1 ใน 5 ถึง 1 ใน 4 ของเด็กวัยก่อน 3 ปีแรกจะพบว่ามีอาการหลับยากและมักตื่นกลางดึกบ่อย ๆ เด็กวัย 3-5 ปี มักกลัวความมืด กลัวเสียงดัง กลัวการนอนคนเดียว ช่วงวัย 10 ปีแรกอาจพบว่ามีการฝันร้าย หรือตื่นกลัวตอนกลางคืน และพบบ่อยที่สุดในช่อง 5-7 ปี ซึ่งพบประมาณร้อยละ 1-4
     
       สำหรับการนอนหลับจะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ REM (Rapid eye movement) และ NREM (Non-rapid eye movement) สำหรับระยะการนอนหลับช่วง REM Sleep การหลับจะเป็นแบบตื้น ๆ ร่วมกับการกรอกตาไปมาอย่างรวดเร็ว กล้ามเนื้อจะผ่อนคลาย ชีพจรและการหายใจอาจไม่สม่ำเสมอ ความฝันจะเกิดในช่วงนี้ ส่วน NREM Sleep ชีพจรและการหายใจจะช้าลง สม่ำเสมอ การเคลื่อนไหวลำตัวจะน้อยที่สุด เป็นช่วงที่อวัยวะต่าง ๆ ได้หยุดพักมากที่สุด REM Sleep ในเด็กแรกเกิดจะเกิดประมาณร้อยละ 50 ของการนอนและลดลงอายุ 5 ปีจะเท่ากับผู้ใหญ่คือ ร้อยละ 20-25 ของการนอนหลับทั้งหมด
 ระยะเวลาการนอนหลับจะแตกต่างกันในแต่ละอายุ ทารกแรกเกิดนอน 16-17 ชั่วโมงต่อวัน เด็กอายุ 4-6 เดือน สามารถนอนติดต่อกันได้ถึง 5 ชั่วโมง และเด็กควรจะหลับได้ด้วยตัวเอง อายุ 1 ปี เด็กจะนอนวันละประมาณ 14 ชั่วโมง อายุ 2 ปี จะนอนวันละ 13 ชั่วโมง และส่วนใหญ่มักไม่นอนตอนเช้า พออายุ 3-5 ปี ส่วนใหญ่จะนอนตอนบ่าย 1 ครั้ง และร้อยละ 75 ของเด็กอายุ 5 ปี ไม่ต้องการนอนกลางวัน
     
       ปัญหาการนอนของเด็กที่พบบ่อย ๆ คือ หลับยาก มักต้องให้พ่อแม่ช่วยอุ้มกล่อม หรือติดดูดนมก่อนหลับ เด็กเหล่านี้ไม่ได้ถูกฝึกให้นอนได้ด้วยตัวเอง โดยธรรมชาติของเด็กเล็กต้องตื่นรู้สึกตัวเป็นพัก ๆ ขณะหลับอยู่แล้ว แต่พ่อแม่มักตอบสนองต่อเด็กมากเกินเหตุ ด้วยการเข้าไปอุ้ม กล่อม หรือให้ดูดนมทุกครั้งที่เด็กร้อง ทำให้เด็กติดและไม่สามารถหลับได้ด้วยตัวเอง
     
       ทั้งนี้ พ่อแม่หลาย ๆ ท่านอาจมีคำถามตามมาว่า ควรจะให้เด็กนอนด้วย หรือให้เด็กนอนคนเดียวตามวัฒนธรรมตะวันตก ในเรื่องนี้คุณหมอให้คำแนะนำว่า แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละครอบครัว แต่มีการศึกษาหลายแหล่งที่แสดงให้เห็นว่า เด็กที่นอนร่วมกับผู้ใหญ่จะมีโอกาสตื่นกลางดึกมากกว่าเด็กที่ปล่อยให้นอนตาม ลำพังคนเดียวถึง 2-3 เท่า ยิ่งเด็กที่ดูดนมแม่และนอนกับแม่ยิ่งตื่นกลางดึกบ่อยมากกว่าเด็กที่นอนคน เดียว
 
สำหรับเด็กที่มี ปัญหาการนอนตั้งแต่ขวบปีแรก และไม่ได้รับการแก้ไขมักพบว่า ปัญหาจะดำเนินต่อไปเมื่อเด็กโตขึ้น ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ ต้องฝึกให้เด็กเล็กรู้จักนอนหลับได้ด้วยตัวเอง โดยจัดช่วงเวลาให้เด็กได้งีบ และนอนหลับตามตารางที่แน่นอนและสม่ำเสมอ ที่สำคัญควรให้เด็กนอนบนเตียงตั้งแต่เริ่มผ่อนคลาย หรือง่วง ไม่ใช่ช่วงที่เด็กหลับไปแล้ว เพื่อให้เด็กรู้จักปรับตัวและบังคับตัวเองให้หลับได้ตั้งแต่เล็ก ๆ โดยไม่ต้องดูดนม ไม่ต้องอุ้มเขย่า และไม่สนใจเสียงร้องที่อาจมีขึ้นก่อนเด็กหลับ เพื่อให้ความทรงจำสุดท้ายของเด็กก่อนที่จะหลับ คือการนอนได้ด้วยตัวเอง ถ้าเด็กตื่นและร้องหานม ควรใจแข็ง ประวิงเวลาให้นานที่สุดก่อนจะยอมให้เด็กดูดนมอีกครั้ง
     
       อย่างไรก็ดี การเล่นกับเด็กมากเกินไปในช่วงเย็นหรือช่วงค่ำ อาจทำให้เด็กเล็ก ๆ วัย 8-9 เดือนขึ้นไปนอนยาก หรือตื่นมาร้องกวนตอนดึก การแก้ปัญหาเด็กนอนดึกคือ ค่อย ๆ ขยับเวลาตื่นให้เร็วขึ้น 15 นาที เพื่อให้เด็กรู้สึกง่วงเร็วขึ้น รวมถึงสามารถจัดตารางตื่น และเข้านอนได้ตามเวลาที่ต้องการ นอกจากนี้การอ่านนิทานหรือเล่าเรื่องเบา ๆ ก่อนนอนจะช่วยให้เด็กหลับได้เร็วขึ้น
     
       ดังนั้น การนอนของลูกเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่จะมองข้ามไม่ได้อีกต่อไป เพราะการนอนหลับอย่างมีคุณภาพจะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ สมาธิ ความจำ และการตัดสินใจ มีผลต่อพัฒนาการทางอารมณ์ ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้สมบูรณ์ สังเกตได้จากโรคภูมิแพ้จะกำเริบมากขึ้นหากนอนน้อย นอกจากนี้ โกรทฮอร์โมน (Growth hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนช่วยเร่งความสูงของเด็ก ๆ จะหลั่งได้ดีในช่วงกลางดึกที่เด็กหลับสนิทระยะหนึ่ง (NREM Sleep stage 3 และ 4) หากเด็กนอนน้อยจะกระทบต่อการหลั่งโกรทฮอร์โมน และอาจมีผลต่อศักยภาพในด้านความสูงของเด็กได้

CR : Manager Online

Animal Planet by Mojo โมเดลสัตว์โลกเสมือนจริงมีจำหน่ายที่ประเทศไทยเเล้ว !

Animal Planet by Mojo โมเดลสัตว์โลกเสมือนจริงมีจำหน่ายที่ประเทศไทยเเล้ว !

















ว่า 16 ปี ที่Animal Planet ได้สร้างสรรค์การเรียนรู้ ความบันเทิง รายการสารคดีต่างๆ เกี่ยวกับสัตว์โลก เเก่ทุกครอบครัวทั่วทุกมุมโลก มาสู่ของเล่นโมเดลสุดเก๋คุณภาพจากยุโรป เพื่อการเรียนรู้ สร้างสรรค์จินตนาการความรู้ให้ลูกน้อย สู่โลกกว้างของสัตว์โลก สะสมเป็นคอลเลคชั่นได้หลากหลายสไตล์ สร้างสรรค์จินตนาการได้ด้วยตัวเอง

ด้วย คุณภาพในการผลิตที่ปลอดภัย ไร้กลิ่น ปราศจากสารพาทเลต เหมาะกับเด็ก 3 ปี ขึ้นไป รายละเอียดโมเดลเเต่ละตัวทาสีเเละลงรายละเอียดด้วยมือเท่านั้น ให้หนูน้อยได้หัดสังเกต เเละ เข้าใจ การใช้ชีวิตของสัตว์โลก สัตว์โลกทุกตัวบนโลก มีเรื่องราวน่ารู้มากมาย วันนี้คุณจะเรียนรุ้สัตว์โลกตัวไหนดี

Woodland

Sea

ไดโนเสาร์

Safari





  • ทำจากพลาสติกปลอดสารพาทาเลต
  • เพ้นท์ด้วยสีnon toxic ไร้กลิ่น ปราศจากสารพาทาเลต เเละ ตะกั่ว
  • ตกเเต่งลายเส้น ระบายสีด้วยงานมือ
  • เหมาะสำหรับให้เป็นของขวัญ
  • ปลอดภัยเเละสนุก ได้ความรู้ ผูกสัมพันธ์ในครอบครัว
  • เหมาะกับเด็ก 3 ปีขึ้นไป
  • ผ่านมาตรฐานความปลอดภัย ASTM standard เเละ CE standard
  • มอก.685-2540
  •  
ชุดเเฟนตาซีสุดอลังการ

ชุดขั้วโลกเหนือ

ชุดขั้วโลกเหนือ


 



มีวางจำหน่ายเเล้วที่ 
 



Time out ลงโทษแบบสงบแต่สยบลูกน้อยอย่างได้ผล

Time out ลงโทษแบบสงบแต่สยบลูกน้อยอย่างได้ผล




time out คืออะไร

Time out  คืออะไร

ผศ.นพ.วิฐารณ บุญสิทธิ  กล่าวถึง  Time out ไว้ดังนี้ Time out คือ การแยกเด็กออกจากสิ่งกระตุ้นหรือความสนใจจากสิ่งรอบข้างชั่วคราว เพื่อให้เขาสงบและควบคุมตนเองได้ เรียกว่า เพื่อหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อให้เด็กได้สงบสติอารมณ์ แต่ไม่ใช่การกักขังลูกในห้องอย่างเด็ดขาด ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องและไม่ใช่การ Time out เพราะการกระทำเช่นนี้ ยิ่งกระตุ้นอารมณ์ด้านลบ  อารมณ์โกรธ  โมโหของเด็กให้พลุ่งพล่านออกมามากกว่า และอาจมีผลเสียอื่น ๆ ตามมาด้วย
เด็กในวัยใดสามารถใช้วิธี Time out ได้

วิธี การนี้เหมาะที่จะใช้กับเด็กในช่วงอายุ 2 – 3  ขวบ เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มรู้จักการรักษากฎต่าง ๆ วิธีการดูว่าลูกรู้จักการ รักษากฎแล้วหรือยัง  เช่น  ดูว่าลูกสามารถจับผิดพ่อแม่เมื่อพ่อแม่ไม่ทำตามกฎที่ครอบครัวไว้ เช่น ถ้าพ่อแม่ห้ามกินขนมบนที่นอนหากลูกมาเห็นพ่อแม่กินอยู่แล้วพูดว่า “แม่กินขนมบนที่นอนไม่ได้ ” นั่นแสดงว่าลูกรู้จักกฎและการรักษากฎแล้ว  เป็นต้น

สำหรับเด็กอายุ 2 ขวบ ควรเริ่มจากระยะเวลาสั้น ๆ เช่นประมาณ 30  วินาที หรือ  1 นาที ระยะเวลาที่เหมาะสมอาจจะดูเป็นกรณีไป เวลาที่ดีควรเป็นเวลาที่พอประมาณ ให้เด็กสามารถสงบสติอารมณ์ได้
สิ่งสำคัญต้องให้เด็กรู้เหตุผลในการ Time out

เมื่อ ครบเวลาควรทบทวนกับเด็กสั้น ๆ ว่าเขาต้องอยู่ใน Time out  เพราะเหตุใด เช่น “พ่อให้หนูนั่งสงบตรงนี้เพราะหนูขว้างของ คราวหลังถ้าหนูโกรธก็บอกได้นะไม่ต้องขว้างของ ตอนนี้หนูใจเย็นแล้วไปเล่นต่อได้” แล้วให้เด็กไปมีกิจกรรมอื่น ๆ ตามปกติ ควรหลีกเลี่ยงการสอนที่ยาวหรือการพูดตำหนิติเตียน
ถ้าลูกไม่ยอมอยู่ใน Time out พ่อแม่ต้องทำอย่างไร

แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

1. ถ้าเด็กไม่ยอมนั่งสงบ พ่อแม่ควรจับตัวเด็กให้นั่งบนเก้าอี้ที่กำหนดไว้ โดยจับทางข้างหลังเก้าอี้แล้วรวบแขน 2 ข้างของเด็กกอดไว้ เมื่อเด็กเริ่มสงบจึงปล่อยแขนแล้วเริ่มจับเวลา เด็กอาจต่อต้านในระยะแรก แต่ถ้าปฏิบัติอย่างเอาจริงและสม่ำเสมอ เด็กก็จะยอมตามในที่สุด พ่อแม่ควรพูดชมเด็กเมื่อเขายอมนั่งและสงบลงได้

2. ในบางกรณีเด็กอาจจะแสดงท่าทีว่าไม่เดือดร้อนเมื่อพ่อแม่ให้อยู่ใน Time out เช่น อาจแสดงสีหน้ายั่วยวน หรือพูดท้าทายว่าไม่สนใจ นั่นไม่ได้แปลว่าเด็กไม่เดือดร้อนจริง ๆ สิ่งสำคัญ คือ การปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอของพ่อแม่  เมื่อเด็กได้รับการ Time out  เขาจะเรียนรู้ที่จะสงบอารมณ์ได้ในที่สุด
ก่อน Time out พ่อแม่ต้อง Time in  ก่อน

คำแนะนำของผศ.นพ.วิฐารณ บุญสิทธิ  ที่ว่า ก่อน Time out พ่อแม่ต้อง Time in ก่อน  คือ

1. การแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของเด็กจะไม่ได้ผลเลย ถ้ามัวแต่เพ่งเล็งที่พฤติกรรมที่ไม่ดีเพียงอย่างเดียวโดยไม่ให้ความสนใจพฤติกรรมที่ดี

2. หากพ่อแม่ไม่มีเวลาให้ลูกเพียงพอ หรือในเวลาปกติที่เขากำลังเล่นดี ๆ อย่างสงบ แต่จะตอบสนองต่อเมื่อลูกสร้างปัญหา เมื่อเขาร้องโวยวาย ขว้างปาของ หรือทะเลาะกันเท่านั้น ปัญหาพฤติกรรมเหล่านี้ก็จะเกิดขึ้นอย่างไม่รู้จบ

3. พ่อแม่ต้องพยามให้ความสนใจเด็กอย่างต่อเนื่องในเวลาปกติที่อาจเรียกว่า Time in ซึ่งอาจทำได้ด้วยวิธีการอยู่ใกล้ ๆ เด็ก แตะตัว โอบไหล่ พยักหน้าหรือยิ้มให้เป็นระยะ ๆ เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดีเขาจะได้ไม่รู้สึกว่าพ่อแม่จะสนใจเขาต่อเมื่อเขาทำ ผิดเท่านั้น  หรือคิดว่าพ่อแม่พยายามจับผิดตนเองตลอดเวลา

4. เมื่อเขามีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ พ่อแม่ก็ควรช่วยให้เขาพยายามควบคุมตนเองด้วยการเบี่ยงเบนพฤติกรรมความสนใจ ออกจากสิ่งที่ไม่เหมาะสม เด็กจะไม่รู้สึกว่าตนเองถูกบังคับ การทำเช่นนี้จะช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในความรักของพ่อแม่   และในคุณค่าของตนเอง ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญของการเติบโตอย่างมีสุขภาพจิตที่ดีต่อไป

คำแนะนำการ Time out ให้ได้ผล




พญ.สุธีรา  เอื้อไพโรจน์กิจ  กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด โรงพยาบาลบีเอ็นเอช ได้แนะนำการทำ Time out   ลูกอย่างได้ผล ไว้ดังนี้

1. เน้น Time in ก่อน Time out เป็นลักษณะของการนำพลังด้านบวกมาเสริมแรงให้แก่ลูก ลูกควรได้รับการ Time in ก่อนอย่างเพียงพอมากกว่าที่จะได้รับการ Time out เพื่อให้เด็กเรียนรู้ที่จะรักษาพฤติกรรมดี ๆ ไว้มากกว่าการถูกทำโทษ

2. ต้อง Time out ทันทีที่ลูกทำพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ หรือไม่เหมาะสม ลูกจะได้เข้าใจว่าคุณพ่อคุณแม่ Time out ตนเองเพราะสาเหตุใด และที่สำคัญการ Time out ควรใช้เวลาเพียงสั้น ๆ เท่านั้น เพื่อให้ดูจริงจัง และจะทำให้เด็กเข้าใจว่าการกระทำของตนไม่ถูกต้องได้ง่ายขึ้น

3. บริเวณเงียบสงบ คุณพ่อคุณแม่อาจเลือกบริเวณในการทำ Time out เป็นส่วนที่แยกจากบริเวณที่มีการทำกิจกรรม ไม่ได้เป็นจุดศูนย์กลาง แต่เป็นมุมห้องที่คุณยังสามารถเห็นว่าลูกกำลังทำอะไร ลูกต้องนั่งบนเก้าอี้จนกว่าคุณจะบอกว่าหมดเวลา ถ้าเวลานานเกินไป เด็กเล็ก ๆ จะลืมว่า ทำไมถึงถูก Time out ถ้าลูกลุกก่อนถึงเวลาจะต้องเริ่มต้นใหม่

4. คำพูดเป็นสิ่งสำคัญ พ่อแม่ไม่ควรพูดให้ลูกรู้สึกไม่ดีเมื่อเวลาเขาต้องถูก Time out  พ่อแม่นั้นต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง  อย่าขึ้นเสียง  อาจใช้คำพูด เช่น  “หยุดก่อนนะลูก พักสัก 1 นาที  ลูกจะได้ใจเย็นลงแล้วเรามาคุยกันใหม่นะ” เป็นการสงบสติอารมณ์เจ้าตัวน้อย  และพ่อแม่เองจะได้มีเวลาสักนิดเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหา

5. โอบกอด หลังจาก Time out แล้ว ให้คุณพ่อคุณแม่กอดลูกเพื่อให้ลูกมั่นใจว่าคุณรักเขามากนะ เพียงแต่การที่ลูกทำพฤติกรรมเช่นนี้ไม่เหมาะสมนะจ๊ะ ไม่ควรทำก็เท่านี้เอง

สรุป  การลงโทษที่ได้ผล มีหลักการว่าเด็กที่ถูกทำโทษ ต้องได้เรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้น ถือเป็นบทเรียนสำคัญของชีวิตว่า ทุกสิ่งที่ได้กระทำ ย่อมมีผลตามมาเสมอ

จะเห็นว่าวิธีการทำโทษก็มี ด้านบวก  นอกจากการตี การดุว่า อาจทำให้เด็กหยุดพฤติกรรมเพียงชั่วคราว แล้วเขาก็จะกลับมาทำผิดได้อีก  อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ควรให้เวลากับลูกอย่างเพียงพอ ให้ความ  ความเข้าใจ  และการให้กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ สอนทัศนคติในเชิงบวกให้แก่ลูก  เพื่อให้ลูกได้มีความเชื่อมั่นในตนเอง และมีพฤติกรรมที่ดีปลูกฝังติดตัวของเขาต่อไป

อ้างอิงข้อมูลจาก

http://www.taiwisdom.org

http://women.kapook.com

https://www.facebook.com/SuthiRa

CR : Theasianparent

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ผ้าห่อตัวทารกใครว่าไม่สำคัญ


เป็นเวลา 9 เดือนที่ทารกค่อยๆ พัฒนาเจริญเติบโตขึ้นในครรภ์ของคุณแม่ ทารกจะลอยตัวอยู่ในถุงน้ำคร่ำ ซึ่งภายในน้ำคร่ำจะมีอุณหภูมิอุ่นๆ ทำให้ทารกรู้สึกสบาย และปลอดภัย ทารกจะใช้ช่วงระยะเวลาที่อยู่ในถุงน้ำคร่ำนี้ในการพัฒนาร่างกาย รวมทั้งการกิน นอนหลับ ตื่น ขับถ่าย ดังนั้นภายในครรภ์ของคุณแม่จึงเปรียบเสมือนโลกใบน้อยๆ ของทารก

เมื่อทารกคลอดออกมาจากครรภ์ของคุณแม่ต้องมาเผชิญกับโลกภายนอกที่ทั้งใหญ่ และเสียงดัง ทารกจะยังไม่สามารถปรับตัวเข้ากับอากาศและอุณหภูมิที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง กับโลกภายในครรภ์ของคุณแม่ได้ ทำให้ทารกเกิดความหวาดระแวง กลัว โดยจะสื่อออกมาด้วยการส่งเสียงร้องไห้ และเพื่อให้ทารกรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัยเหมือนอยู่ในครรภ์ของแม่ จึงจำเป็นต้องมีผ้าห่อตัวเด็กแรกเกิดสำหรับใช้ในการห่อตัว
ทำไมต้องใช้ผ้าห่อตัวทารก
จะสังเกตได้ว่าทารกแรกคลอดหลังจากทำความสะอาดร่างกายแล้ว จะมีการใช้ผ้าห่อตัวทารก คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจกำลังสงสัยว่าทำไมจะต้องใช้ผ้าห่อตัวเด็กด้วยซึ่ง เหตุผลของการห่อตัวเด็กก็เพราะในช่วงเดือนแรกหลังคลอด ทารกต้องปรับตัวกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างไปจากครรภ์ของแม่ ทำให้ผ้าห่อตัวทารกจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญสำหรับทารกเป็นอย่างมากเพราะการห่อ ตัวสามารถช่วยกระชับแขนขาของทารกให้แนบแน่นกับลำตัวไม่ให้เคว้งคว้างทำให้ ทารกรู้สึกเสมือนว่ากำลังนอนคู้ตัวอยู่ในครรภ์ของแม่ที่สำคัญยังช่วยลดอาการ สะดุ้งตกใจจากเสียงดังรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเสียงคนคุยกัน หรือเสียงลม และการห่อตัวทารกยังช่วยให้เกิดความอบอุ่น ช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกาย ทำให้ทารกไม่รู้สึกหนาวเย็น
วิธีการเลือกผ้าห่อตัวทารก
    ผ้าห่อตัวทารกมี 2 แบบ คือ ผ้าฝ้าย(Cotton) และ ผ้าขนหนู

    ผ้าฝ้าย ข้อดีคือ จะเก็บความอุณหภูมิได้ดีกว่าและมีการใช้งานได้นานกว่า ใช้ตอนกลางวันเหมาะ


    ผ้าขนหนู ข้อดีคือ สามารถดูดซับน้ำได้ดีกว่าผ้าคอตตอน ข้อเสียคือ เมื่อมีการใช้งานไปนานๆ เนื้อผ้าจะหลุดลุ่ยเสื่อมสภาพเร็วกว่าผ้าคอตตอน ใช้สำหรับหลังอาบน้ำหรือห่อตัวกลางคืนจะอบอุ่น
   
 
    ผ้าห่อตัวทารก ควรเลือกใช้งานให้เหมาะกับแต่ละสภาพอากาศ เช่น หากวันที่อากาศร้อน หรือต้องอยู่ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิค่อนข้างร้อน ควรเลือกใช้ผ้าห่อตัวทารกที่เนื้อผ้าระบายอากาศได้ดี เนื้อผ้าต้องไม่หนามาก และหากเป็นวันที่อากาศเย็น(หนาว) หรือต้องอยู่ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ(เย็นมาก) ควรเลือกใช้ผ้าห่อตัวทารกที่เนื้อผ้ามีความหนาพอที่จะเก็บความร้อนให้กับ ร่างกายทารกได้อย่างดี

ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่คงได้ทราบถึงเหตุผลกันไปแล้วว่าทำไมผ้าห่อตัว เด็กแรกเกิดถึงมีความสำคัญ ฉะนั้นก่อนที่ทารกน้อยจะคลอดออกมา ควรเตรียมหาซื้อผ้าห่อตัวเด็กที่เหมาะกับการใช้งานไว้ในรายการของใช้สำหรับ เด็กอ่อนด้วยนะคะ
CR : enfa baby

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

กรดไหลย้อนเจ้าตัวเล็กก็เป็นได้ กรดไหลย้อนในทารกคืออะไร

กรดไหลย้อนเจ้าตัวเล็กก็เป็นได้ กรดไหลย้อนในทารกคืออะไร
ภาวะ ที่กรดในกระเพาะไหลย้อนมาในหลอดอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ซึ่งจะทราบได้จากการที่ทารกมีอาการแหวะนม ซึ่งปกติทารกในขวบปีแรก อาจจะมีการแหวะนมเพียง

นิดหน่อยก็คงไม่ต้องกังวล แต่หากว่าลูกมีอาการแหวะนมที่ผิดปกติ เช่น แหวะนมออกมาเยอะมากหรือแหวะนมบ่อย อาจเป็นสัญญาณของโรคกรดไหลย้อน นอกจากนี้ยังมีภาวะกรดไหลย้อน ที่

ไม่สามารถสังเกตอาการได้จากการแหวะนม เช่น ปอดอักเสบแบบเป็นๆ หายๆ, การไอเรื้องรัง, ไอเสียงดังหรือหายใจเสียงดังมากๆ เป็นต้น
เด็กดื่มนม
สาเหตุของการเกิดกรดไหลย้อน
กรด ไหลย้อนจากกระเพาะสู่หลอดอาหาร ในเด็กเกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดส่วนปลายของหลอดอาหาร (ทำหน้าที่เปิดให้อาหารลงสู่กระเพาะอาหารและปิดเมื่อกินอาหารเสร็จ) ยังไม่แข็งแรง เมื่อ

ลูกอิ่มนมเสร็จแล้วหูรูส่วนปลายหลอดอาหารปิดไม่ สนิท จึงทำให้นมหรืออาหารรวมทั้งกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมา ทำให้ลูกมีอาการต่างๆ เหล่านี้ค่ะ

อาการของทารกที่มีภาวะกรดไหลย้อน
-แหวะนมหรืออาเจียนบ่อยและรุนแรง
-ปฏิเสธการป้อนนมหรืออาหาร
-ลูกแสดงความรู้สึกหงุดหงิดง่ายหรือร้องกวนมากกว่าปกติ มักจะเป็นหลังการป้อนนมหรืออาหาร
-น้ำหนักลดหรือไม่ขึ้นตามเกณฑ์
-ไอบ่อย ไอเรื้อรัง และหายใจเสียงดังหรือหายใจลำบาก
-ลูกมีอาการกลั้นหายใจหรือไม่ หายใจในช่วงที่เกิดภาวะกรดไหลย้อน

นอก จากนี้ยังอาจมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น เลือดจาง อาเจียน เป็นเลือด เสียงแหบ ปอดติดเชื้อบ่อยๆ หรือหอบหืด โดยที่ไม่มีอาการแหวะนมเลย หากลูกมีอาการต่างๆ ดังนี้ ควรปรึกษาคุณหมอ

โรคทางเดินอาหาร เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้องต่อไปค่ะ

ป้องกันกรดไหลย้อนให้ลูกได้ง่ายนิดเดียว
-ให้นมมื้อละน้อย แต่บ่อยขึ้น
-ปรับท่าการให้นมลูก คือต้องยกหัวให้สูงขึ้นกว่าปกติ
-อุ้มลูกเรอทุกครั้งหลังกินนม จะช่วยลดภาวะกรดไหลย้อนได้

หมอนcosymat เอน15องศา ป้องกันกรดไหลย้อน


-ให้ ลูกนอนหัวสูงสัก 15-30 องศา และตะแคงซ้าย เพราะกระเพาะอาหารอยู่ค่อนทางซ้ายจะได้อยู่ต่ำกว่าหลอดอาหาร เพื่อกันไม่ให้กรดไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารได้ โดยใช้หมอนยันตัวลูกไว้ไม่ให้พลิกมานอนหงาย
-หมั่นสังเกตอาการที่อาจเป็น สัญญาณเตือนว่ามีภาวะแทรกซ้อนแล้ว เช่น หอบหืด ไอเสียงดัง ไอเรื้อรังหรือว่ามีปอดอักเสบบ่อยๆ

ขอขอบคุณข้อมูลจากMother & Care

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ส่งเสียงถึงเจ้าตัวน้อยในท้อง

 

ส่งเสียงถึงเจ้าตัวน้อยในท้อง 



คุณแม่เคยสงสัยไหมคะว่า ทำไมลูกน้อยถึงจำเสียงคุณแม่ได้ และแยกเสียงคุณแม่ออกจากคนอื่นได้ เนื่องจากลูกมีพัฒนาการการได้ยินตั้งแต่อยู่ในครรภ์แล้วค่ะ และความสามารถในการได้ยินนี้ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ทางด้านภาษาต่อไปอีกด้วย Modern Mom จึงจะมาแนะนำถึงช่วงเวลาในการเริ่มได้ยินของลูก เพื่อจะได้ส่งเสริมการได้ยินของลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในครรภ์เลยค่ะ
    
       เริ่มต้นการได้ยิน
    
       4 Month
    
       สมองเริ่มได้รับรู้ ตาเริ่มมองเห็น เริ่มรู้ว่ามีแสง ลิ้นเริ่มมีปุ่มสัมผัส และเริ่มจะได้ยินเสียงต่าง ๆ แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเสียงหัวใจของแม่ หรือเสียงร้องของกระเพาะอาหาร รวมทั้งเสียงจากภายนอกครรภ์
    
       5 Month
    
       นอกจากได้ยินเสียงแล้ว ลูกในท้องก็มีการตอบสนองต่อเสียงอีกด้วย ไม่ว่าจะต่อเสียงพูดคุยของแม่ หรือเสียงดังที่เกิดขึ้นกะทันหัน ก็จะทำให้เด็กมีการตอบสนองด้วยอาการกระตุก การขยับตัว แม่ก็จะรู้สึกได้ว่า ลูกมีการเตะท้อง
    
       6-7 Month
    
       เด็กสามารถจดจำเสียงที่มาจากภายนอกได้ เช่น เสียงเพลงที่คุณแม่เปิดให้ลูกฟัง หรือเสียงพูดคุยของคุณพ่อคุณแม่ พอลูกคลอดออกมาแล้ว ได้ยินเพลงที่เขาเคยฟังบ่อย ๆ หรือได้ยินเสียงพ่อแม่ที่คุ้นเคยก็จะรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยค่ะ
    
       8-9 Month
    
       มีพัฒนาการทางการได้ยินมากขึ้น ลูกในครรภ์มีความเข้าใจในภาษามากขึ้น หากที่บ้านมีการพูดคุยหลายภาษา ลูกในครรภ์ก็จะเริ่มคุ้นเคยกับลักษณะเสียงของภาษาที่แตกต่างกัน
     

กระตุ้นการได้ยิน

       พูดคุยกับลูก
    
       เสียงพูดของพ่อแม่เป็นเสียงที่ลูกได้ยินชัดเจนที่สุด เพราะนอกจากลูกจะได้ยินเสียงคุณแม่จากการฟังแล้ว ยังรู้สึกถึงการส่งผ่านทางร่างกายของแม่ด้วย อีกทั้งคุณพ่อก็สามารถมาร่วมพูดคุยกับคุณแม่และลูกได้ด้วยค่ะ เพราะเสียงทุ้ม ๆ ของคุณพ่อก็จะส่งผ่านไปสู่ลูกได้ดีกว่าเสียงความถี่สูง หากคุณพ่อคุณแม่ได้พูดคุยกับลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เมื่อคลอดแล้ว ลูกก็จะสามารถจดจำเสียงได้ทันที
    
       ฟังเพลง
    
       เพลงที่จะเปิดให้ลูกฟังนั้น ควรเป็นเพลงที่จังหวะไม่หนัก เป็นเพลงเบา ๆ อาจเป็นเพลงบรรเลง หรือเพลงที่มีเสียงร้องก็ได้ โดยเป็นการเปิดเพลงฟังทางลำโพงที่ทั้งแม่ และลูกได้ยินพร้อมกัน ที่สำคัญควรเป็นเพลงที่คุณแม่ชอบด้วย
    
       สวดมนต์ด้วยกัน
    
       คุณแม่บางท่านที่ชอบสวดมนต์ ก็อาจจะเปลี่ยนจากการสวดในใจมาเป็นเปล่งเสียงออกมาให้ลูกได้ยินด้วย การที่ลูกได้ยินเสียงคุณแม่ในเวลาที่เงียบสงบจะทำให้ลูกฟังเสียงอย่างสงบไป ด้วย รู้สึกมีความสุข และส่งผลดีต่อการทำงานของสมองเจ้าตัวเล็กตามไปด้วยค่ะ
    
       อ่านนิทาน
    
       คุณแม่อาจจะอ่านนิทานให้ลูกฟังก็ได้ เพื่อช่วยเรื่องพัฒนาการด้านภาษา เมื่อเขาคลอดออกมาก็จะคุ้นเคย และเป็นพื้นฐานสำหรับพัฒนาการด้านภาษาต่อไป
 
ขอบคุณข้อมูลจาก นิตยสาร Modern Mom ค่ะ

4 เทคนิค สร้างลูกฉลาดตั้งแต่ในครรภ์

4 เทคนิค สร้างลูกฉลาดตั้งแต่ในครรภ์


http://bambigarden.com/collections/pregnancy-essentials


         คุณแม่ทุกท่านย่อมต้องการให้ลูกที่เกิดมาเป็นเด็กฉลาดทั้งทางสติปัญญาและ อารมณ์ ถึงแม้ว่าเรื่องของกรรมพันธุ์จะเป็นปัจจัยหนึ่งต่อความเฉลียวฉลาดของลูก แต่ก็ยังมีเรื่องของอาหารของคุณแม่ตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์และของลูกภายหลังคลอด รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเด็ก ขณะที่อยู่ในท้องและภายหลังคลอดก็เป็นส่วนสำคัญต่อพัฒนาการของสมองและอารมณ์ ของลูกอย่างต่อเนื่องค่ะ

ลูกเป็นอย่างไร ในแต่ละช่วง

         ช่วง 1-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงของการเริ่มต้นสร้างอวัยวะ กล้ามเนื้อต่าง ๆ และเซลล์ประสาทของลูกน้อย ช่วงนี้คุณแม่จะต้องดูแลเรื่องอาหาร ยา และหลีกเลี่ยงสารพิษ เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 3 ทารกจะมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกที่มากระทบได้แล้ว ลูกจะดิ้นไปมาอยู่ในท้อง แต่แม่จะยัง ไม่ค่อยรู้สึกเพราะขนาดตัวของลูกยังเล็กมาก

         ช่วง 4-6 เดือนของการตั้งครรภ์ ประสาทสัมผัสทางการได้ยินเริ่มพัฒนา ทารก จะเริ่มได้ยินเสียงหัวใจและเสียงของแม่ จำนวนเซลล์ของระบบประสาทเพิ่มมากขึ้น ทำให้ทารกเริ่มจดจำเสียงของคุณแม่ได้ และยังมีการเชื่อมต่อระหว่างระบบประสาทกับระบบกล้ามเนื้อ ทารกสามารถเคลื่อนไหวแขนและขาตามจังหวะของ ข้อพับ กำมือ ยืดตัว หรือพลิกตัวได้แล้ว

         ช่วง 7-9 เดือนของการตั้งครรภ์ เมื่อลูกรู้สึกว่าภายนอก มีเสียงดัง หรือหากคุณแม่กินอาหารผิดเวลา ลูกจะสื่อความต้องการ หรือตอบโต้ด้วยการดิ้น เตะ ถีบ ระบบประสาทในการมองเห็นพัฒนา รูม่านตาจะเริ่มขยายหรือหรี่ได้ แม้จะอยู่ในถุงน้ำคร่ำ ทารกก็สามารถรับรู้ต่อแสง ความมืด ความสว่างได้ และสมองของทารกช่วงนี้ เป็นระยะที่มีการขยายตัวของเซลล์และรอยหยักมากขึ้น เด็กจะมีความจำมากขึ้น

ส่งเสริม 4 พัฒนาการให้ลูกในท้อง

         ขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์ ระบบประสาทส่วนต่าง ๆ ของลูกเริ่มทำงาน สามารถรับรู้และตอบสนองกับสิ่งกระตุ้นจากภายนอกท้องแม่ได้ โดยเฉพาะช่วงตั้งครรภ์ 4 เดือนไปแล้ว คุณแม่และคุณพ่อจึงสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกได้ ดังนี้

 1. ด้านอารมณ์

          คุณแม่ที่อารมณ์ดีอยู่เสมอจะทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีทั้งสมอง (IQ) และอารมณ์ (EQ) ในทางตรงกันข้าม คนที่มีอารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย จะทำให้ลูกคลอดออกมาเป็นเด็กงอแง เลี้ยงยาก พัฒนาการช้า ดังนั้นระหว่างตั้งครรภ์ควรปรับอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอ ไม่เครียด อาจฟังเพลงหรืออ่านหนังสือเพื่อช่วยในการผ่อนคลายอารมณ์


 2. ด้านการมอง

         ออกไปยืนรับแสงแดดอ่อนๆ นอกบ้านช่วงเช้าหรือบ่าย ควรเลือกแสงที่มีความสว่างไม่จ้าจนเกินไป นอกจากนี้ การใช้ไฟฉายส่องที่หน้าท้องก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้เซลล์สมองและเส้นประสาท ส่วนรับภาพและ การมองเห็นของทารกมีพัฒนาการดีขึ้นและเตรียมพร้อมสำหรับการ มองเห็นภายหลังคลอด


 3. ด้านการได้ยิน

         หมั่นพูดคุยกับลูกในท้องบ่อย ๆ ด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล ใช้ประโยคซ้ำ ๆ เพื่อให้ลูกคุ้นเคย จะช่วยให้ระบบประสาทและสมองที่ควบคุมการได้ยินมีพัฒนาการที่ดีและเตรียม พร้อมสำหรับการได้ยินหลังคลอด

         นอกจากนี้ การร้องหรือเปิดเพลงให้ลูกฟังบ่อยๆ โดยเฉพาะเพลงที่มีความไพเราะและคุณแม่ชอบฟัง ซึ่งการใช้เสียงกระตุ้นจะทำให้ การได้ยินของลูกมีพัฒนาการดีขึ้น ช่วงเวลาที่เหมาะในการฟังเพลง ควรเป็นช่วงหลังมื้ออาหาร เพราะเป็นช่วงเวลาที่ลูกตื่นตัวมากที่สุด ควรเปิดเสียงเพลงให้อยู่ห่างจากหน้าท้องประมาณ 1 ฟุต และเปิดเสียงดังพอประมาณเพื่อลูกในท้องจะได้ฟังเสียงเพลงไปด้วย คลื่นเสียงจะไปกระตุ้นให้ระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการได้ยินมีการพัฒนา ระบบการทำงานได้เร็วขึ้น ทำให้เมื่อลูกคลอดออกมาจะมีความสามารถในการจัดลำดับความคิดในสมอง รู้สึกผ่อนคลาย และจดจำสิ่งต่างๆ ได้ดี


 4. ด้าน การสัมผัส

         การลูบไล้หน้าท้องบ่อย ๆ จะกระตุ้นระบบประสาทและสมองส่วนรับรู้ความรู้สึกของลูกให้มีพัฒนาการที่ดี ขึ้น คุณแม่ควรลูบหน้าท้องเป็นวงกลมจากบนลงล่างหรือจากล่างขึ้นบน บริเวณไหนก่อนก็ได้ โดยขณะที่สัมผัสอาจร้องเพลงหรือพูดคุย ไปด้วย ยิ่งถ้าทำในช่วงเวลาเดิมเป็นประจำจะรู้สึกได้ว่าเมื่อถึงช่วงเวลานั้น ลูกจะดิ้นรออยู่แล้ว

         นอกจากการลูบไล้หน้าท้องแล้วการออกกำลังกายเบา ๆ หรือการเดินเล่น จะทำให้ลูกในท้องมีการเคลื่อนไหว ตามไปด้วย และผิวกายของลูกจะไปกระแทกกับผนังด้านในของมดลูก ซึ่งจะช่วยกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสของลูกให้พัฒนาได้ดีขึ้น ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องค่ะ
 

ขอบคุณข้อมูลจาก Mother & Care